วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

มาด้วยกัน ไปด้วยกัน

เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม
สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง


จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นเมืองที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งทางประวัติศาสตร์และทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ วัดเขาขึ้นของพระอาจารย์ธรรมโชติผู้สร้างขวัญและกำลังใจให้กับชาวบ้านบางระจัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง อุทยานแห่งชาติพุเตย บึงฉวาก และมีขนมขึ้นชื่ออย่างสาลี่สุพรรณ

ภาษาถิ่นชวนฟัง สุพรรณบุรีเป็นเมืองสมัยโบราณ พบหลักฐานทางโบราณคดี มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500-3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ เดิมจังหวัดสุพรรณบุรีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เมืองทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ” หรือ “พันธุมบุรี” ต่อมาเมื่อพระเจ้ากาแต (เชื้อสายไทยปนพม่า) เสด็จขึ้นครองราชย์ และย้ายเมืองมาอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน ได้ทรงสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ได้ทรงชักชวนข้าราชการออกบวช จำนวน 2,000 คน จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สองพันบุรี” ครั้นพระเจ้าอู่ทองทรงย้ายเมืองไปอยู่ทางฝั่งใต้ (ทิศตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน) เมืองนี้จึงได้ชื่อใหม่ว่า “อู่ทอง” จนกระทั่งลุเข้าสมัยขุนหลวงพะงั่ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสุพรรณบุรีในที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นเมืองต้นกำเนิดวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน อันเป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของของชาติไทย เมื่อไปถึงสุพรรณบุรีเราจะได้สัมผัสบรรยากาศของวรรณกรรมเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็น ชื่อตำบล ชื่อบ้าน ชื่อถนน และชื่อสถานที่สำคัญต่างๆ ในท้องเรื่องยังมีปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น บ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค ถนนนางพิม ถนนขุนไกร อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์

ตัวอย่างโปรแกรมทัวร์


เที่ยวเมืองสุพรรณวันเดียวครบทุกรส ชมตลาดเก่าริมแม่น้ำท่าจีนอายุกว่าร้อยปี
ศึกษาธรรมชาติสัตว์น้ำ และการเกษตรแนวใหม่แบบไร้ดิน แล้วแวะไปเยี่ยม 'เพื่อนกลางทุ่ง' ของชาวนา ที่หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย เติมเต็มประสบการณ์หลากหลายรูปแบบ ในวันเดียวเที่ยวสนุก
ถึงเมืองสุพรรณบุรี มุ่งหน้าไปตามทิศที่ตั้ง หอคอยบรรหาร - แจ่มใส ในสวนเฉลิมภัทรราชินี เดินชมภาพจิตรกรรมจากวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งมีเมืองสุพรรณเป็นฉากสำคัญในท้องเรื่อง ขึ้นชั้นบน ไปส่องกล้องชมวิวมุมสูงบ บนหอคอยบรรหาร - แจ่มใส ถ้าอากาศดีฟ้าโปร่ง จะได้เห็นตึกรามบ้านเรือนในเขตเมือง ไปจนถึงทุ่งนาผืนกว้างที่อยู่ไกลลิบ
เดินตลาดเช้า ฟังคนเก่าเล่าเรื่อง
เดินชมและชิมอาหารย่านตลาดเก่าริมแม่น้ำท่าจีน เริ่มต้นที่ ตลาดศรีประจันต์ แวะคุยกับแม่ค้าขนมทองม้วนอารมณ์ดีริมประตูน้ำ ชอบแบบนิ่มหรือกรอบ สั่งกันหน้าเตาได้เลย หรือจะเลยไปอีกหน่อยก็ที่ ตลาดสามชุก ซึ่งเป็นตลาดชุมชน ที่ใหญ่กว่า ชมบรรยากาศตลาดห้องแถว แวะดูบ้านติดลูกไม้โบราณ ของขุนจำนงค์ จีนารักษ์ นายภาษีเก่า เดินเข้าร้านขายยาดูเครื่องบดยา ตัดยาสมุนไพรในอดีต แต่ละร้านมักจัดมุมอวด 'ของเก่า' ไว้อย่างน่าชม จากนั้นชิมก๋วยเตี๋ยวรสเด็ด แล้วไปร่วมวงกาแฟกับคุณลุงคุณตาในร้านกาแฟประจำตลาด ก่อนกลับจูงมือกันไปถ่ายรูปแบบโบราณ เป็นที่ระลึกทางร้านบริการจัดส่งให้ถึงบ้าน
ลอดอุโมงค์ปลาน้ำจืด
ขับรถต่อไปอีกครึ่งชั่วโมง เกือบสุดเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ก็จะถึง สถานแสดงพันธุ์ สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติที่ อ.เดิมบางนางบวช ชมปลาน้ำจืดพันธุ์ที่มี ขนาดใหญ่ ที่สุดอย่าง ปลาบึก ปลาหายาก อย่างปลาเสือตอ ปลากะโห้ ฯลฯ ลอดอุโมงค์น้ำ ตื่นตากับปลากว่า ๕๐ ชนิด ตัวใหญ่เล็กนับพันที่ว่ายวน อยู่เหนือศีรษะ โบกมือทักทายกับนักประดาน้ำที่สาธิต การให้อาหาร ผ่านห้องแสดงปลาน้ำจืด 'จากแม่น้ำสู่ทะเล' สะดุดตากับปลาในแนวปะการังสีสันสดใส ทั้งปลาการ์ตูน ปลาโนรี ปลาผีเสื้อ ปลาสิงโต ฯลฯ
บริเวณโดยรอบยังมีกรงเพาะพันธุ์สัตว์ป่าหายาก เช่น เสือโคร่ง เสือปลา แมวดาว สวนนก บ่อจระเข้ ให้เดินไปเที่ยวชม สำหรับผู้สนใจเรื่องผักพื้นบ้าน เชิญตรงไปที่ อุทยานผักพื้นบ้าน มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม ไม้เถาที่ชาวไทยเก็บยอด เถา ดอกเป็นผักสวนครัว "เลือกพันธุ์ที่ชอบ เลือกชิมต้นที่ใช่" ศึกษาข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ซื้อต้นพันธุ์ไปปลูกเป็นสวนผักพื้นบ้านไว้รับประทานเองได้
แวะพักเหนื่อยริมบึง หรือจะไปปั่นจักรยานน้ำในบึงกว้างก็ได้ตามอัธยาศัย
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากฯ เปิดบริการทุกวัน จันทร์ - ศุกร์ ๑๐.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. วันหยุดราชการ ๙.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ ๓๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท โทร. ๐๓๕ ๔๓๙๒๐๘ - ๙
ปลูกผักในสวนพืชไร้ดิน
ไปทดลองปลูกผัก กินพืชที่โตได้แบบไม่ต้องใช้ดิน ที่ สวนพืชไร้ดินอ.ศรีประจันต์ เปิดมุ้งชมแปลงผักกว่าสิบชนิด ทั้งผักกาดขาวต้นอวบ ผักคะน้าใบเขียวเข้ม และผักสลัดอีกหลายชนิด ค้นพบกรรมวิธีให้สารอาหารต่างๆ ในน้ำที่ไหลผ่านรากผัก ตลอดเวลา นี่เอง…เคล็ดลับความงามของผักไร้ดิน ชอบผักอะไรก็ลงมือปลูกด้วยตนเอง แล้วนำไปดูแลต่อที่บ้าน หรือเลือกซื้อผักสำเร็จรูปก็มีจำหน่าย ภายในบริเวณยังมีแปลง ปลูกไม้ดอกไม้ผลด้วยวัสดุปลูก สามารถเลือกซื้อกลับบ้านได้ทั้งต้นทั้งผล สวนพืชไร้ดิน เปิดให้ชมทุกวัน ตั้งแต่ ๘.๐๐ น. - ๑๙.๐๐ น. โทร.๐๓๕ ๕๖๒๒๐๐ - ๑
ตามหาเจ้าทุยไปถึงถิ่น
แวะเยี่ยมบ้านเจ้าทุย เพื่อนกลางทุ่งของชาวนาไทย ที่หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย ชมวิถีชีวิตแบบชาวไทย พื้นบ้าน ร่วมขบวนแห่ขันหมากขึ้นเรือนไปขอเจ้าสาว ตามประเพณีแต่งงานแบบไทย ฟังเพลงพื้นบ้านสนุกๆ อย่างเพลงอีแซว แล้วคึกคักหัวใจ อดที่จะขยับจังหวะ ร่วมไปด้วยไม่ได้ ย้อนอดีตภาพชีวิตกลางทุ่ง ชาวนาจัดแจงแต่งตัวเจ้าทุยก่อนออกไปไถนา ชมการแสดงที่น่ารักชวนขำ ของหนุ่มบ้านนา และเจ้าทุยแสนรู้นับสิบตัวกลางลานกว้าง ฮาเฮกับ 'มุขเด็ด' ของคุณลุงนักพากย์ แทรกอารมณ์ขันประหนึ่งถอดใจเจ้าทุยมาคุยเองไปดูว่าควายยิ้มกับคนยิ้ม ใครน่ารักกว่ากัน แดดร่มลมตก ชวนกันนั่งชมพระอาทิตย์ลับฟ้าในมุมสวยหน้าเรือนคหบดี หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย เข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่ ๙.๓๐ - ๑๘.๐๐ น. มีการแสดงเป็นรอบๆ สอบถามได้ที่ โทร. ๐ ๓๕๕๘๒๕๙๑ - ๓ หรือ ๐๒ ๒๗๐ ๐๓๙๕ - ๗ ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ ๕๐ บาท เด็ก ๓๐ บาท
ท่องแม่น้ำสุพรรณบุรี ดื่มด่ำกับสายน้ำแห่งอาราม
เมืองอู่ข้าวอู่น้ำแห่งที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้นับเป็นเมืองใหญ่และเก่าแก่ของภาคกลาง มีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีคนกลุ่มต่างๆ เข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้นส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำท่าจีนหรือแม่น้ำสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นสายน้ำเส้นสำคัญของเมือง ใช้ทั้งอุปโภคบริโภคและการคมนาคม ชุมชนและวันวาอารามเก่าแก่หลายแห่งจึงปรากฏอยู่สองฝั่งแม่น้ำ เรียงรายกันไปแทบไม่ขาดตอนนับเป็นสิ่งสะท้อนรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่เปี่ยมด้วยคุณค่า

สิ่งที่น่าสนใจในเส้นทาง
1. กลุ่มศิลปหัตถกรรมบ้านธรรมกุล ชาวบ้านรวมกันผลิตแจกันดินเผาแนวจิตรกรรมไทย โดยนำแจกันรูปทรงต่างๆมาวาดภาพอย่างสวยงาม แล้วหุ้มด้วยผักตบชวาสาน เป็นการพัฒนารุปแบบให้สวยงามและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ นักท่องเที่ยวที่สนใจผลิตภัณฑ์สามารถเลือกซื้อได้ในราคาไม่แพง
2. วัดพระนอน สิ่งสำคัญภายในวัดคือ พระนอนที่ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารทรงจัตุรมุขยอดปรางค์ พระพุทธรูปองค์นี้มีพุทธลักษณะพิเศษต่างจากพระนอนทั่วไป คือทำท่านอนหงายพระหัตถ์ประสานวางบนพระองค์ที่มีขนาด 8 ศอก ลักษณะเช่นนี้พบที่เมืองกุสินารา สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าในประเทศอินเดีย นอกจากนี้บริเวณท่าน้ำของวัดยังจัดเป็นเขตอภัยทานและอนุรักษ์พันธุ์ปลา ตั้งชื่อว่า อุทยานมัจฉา
3. วัดแค วัดนี้เป็นวัดที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีสำคัญเรื่องขุนช้างขุนแผน คือเป็นวัดที่เณรแก้ว ( ขุนแผน )มาศึกษาหาความรู้กับสมภารคง เณรแก้วร่ำเรียนจนมีวิชาอาคม เก่งกล้าวิชาหนึ่ง คือใช้ใบมะขามมาเสกเป็นต่อแตนใบมะขามที่ว่า เณรแก้วคงเด็ดมาจากต้นมะขาม ยักษ์ภายในวัดนี้เองไม้ต้นนี้ยังมีอยู่จริงและเป็นต้นไม้อนุรักษ์ของจังหวัดสุพรรณบุรีด้วยใกล้ฝั่งแม่น้ำมีเรือนไทยภาคกลางหลังย่อม เรียกว่า คุ้มขุนแผน เป็นเรือนหมู่สี่หลังล้อมหอกลาง
4. หอคอยบรรหาร - แจ่มใส เป็นหอคอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูง 123 เมตร ตั้งเด่นอยู่กลางเมืองในบริเวณสวนเฉลิมภัทรราชินี เมื่อขึ้นไปบนหอคอยจะแลเห็นทิวทัศน์ของเมืองสุพรรณบุรีได้กว้างไกลสุดสายตา
5. วัดพระรูป ภายในวัดเก่าแก่แห่งนี้มีโบราณวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธไสยาสน์ ขนาดองค์ยาวประมาณ 13 เมตร สูง 3 เมตร สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 - 19 ฝีมือเชิงช่างงดงามมาก โดยเฉพาะพระพักตร์รูปแป้นกลมลักษณะศิลปะแบบอู่ทองรุ่นหลังและยังมีพระพุทธบาทไม้ ด้านหนึ่งจำหลักรอยพระพุทธบาท มีมงคลร้อยแปดประการ อีกด้านหนึ่งจำหลักภาพพุทธประวัติ ตอนมารผจญ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้บนศาลาการเปรียญ
6. ตลาดเก้าห้อง ในอดีตตลาดแห่งนี้เป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญ แม้บรรยากาศจะซบเซามาหลายสิบปี อันเนื่องจากการคมนาคมที่เปลี่ยนไปใช้ถนนแทนทางน้ำ อย่างไรก็ตามตัวอาคารร้านค้าก็ยังคงสภาพแบบเดิมซึ่งหาดูได้ยาก ลักษณะเป็นอาคารไม้สองชั้นปลูกติดกันเป็นห้องแถวยาวหลายสิบห้อง ห้องแถวสองฝั่งนี้เชื่อมด้วยหลังคาคลุมถนนเล็กๆ ที่พาดผ่านอยู่ตรงกลาง กลางตลาดมีหอคอยสูงราวตึกสามชั้น ในอดีตใช้เป็นที่ตรวจส่องพวกโจรในยามค่ำคืน ในตลาดยังมีร้านของกินเกาแก่ฝีมือดีหลายร้าน เช่น ร้านขนมเปี๊ยะ ร้านเป็ดพะโล้ เป็นต้น
7. วัดสวนหงษ์ วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเพราะเป็นวัดของหลวงพ่อปลื้ม หรือพระครูสุมนคณารักษ์พระเกจิอาจารย์ที่มีผู้นับถือมากมาย ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2545 แต่สังขารยังไม่เน่าเปื่อย ทางวัดจึงได้นำสังขารของท่านใส่ไว้ในโลงแก้วให้ลูกศิษย์ลูกหาได้กราบไหว้ด้านหน้าโลงแก้วมีหุ่นขี้ผึ้งปั้นเป็นรูปเหมือนของท่านด้วย นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์เรือมีเรือรวบรวมไว้หลายสิบลำ ส่วนใหญ่เป็นเรือมาดขุดประเภทแจวจากลำน้ำสุพรรณบุรี เรือแบบอื่นๆ ก็มีให้ชมหลากหลายขณะนี้พิพิธภัณฑ์ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ก็สามารถขอเข้าชมได้หากมีเวลาแนะนำให้ข้ามฟากแม่น้ำไปซื้อขนมสาลี่ ขนมไทยและปลาแดดเดียวที่ตลาดบางปลาม้า
จุดลงเรือเรือ
ท่องเที่ยวนี้เป็นบริการของร้านอาหาร เรือนแพครัวสุวรรณ เป็นเรือขนาดใหญ่หลายสิบที่นั่ง ติดต่อจองเรือล่วงหน้าที่ โทร 0 3552 3047, 0 3552 4209

ตามลำน้ำไปนมัสการวัดและศาลเจ้า ที่ศรีประจันต์
แม่น้ำท่าจีนที่ไหลผ่านอำเภอศรีประจันต์นั้นไม่ใช่ลำน้ำที่กว้างใหญ่ หรือมีทิวทัศน์ที่เต็มไปด้วยความตื่นตา หากแต่สายน้ำเล็กๆที่เลาะเลื้อยผ่านเรือกสวนไร่นาและชุมชนชนบทอันเงียบสงบนี้ก้คือเสน่ห์ในตัว ทั้งเส้นทางล่องเรือที่ไม่ยาวไกลนักช่วยให้ความสดใหม่จากการเดินทางไม่ทันจางหาย สถานที่สำคัญสองจุดที่เรือจอดแวะทั้งตอนบนคือศาลเจ้าพังม่วง และจุดสิ้นสุดทางตอนล่างคือวัดบ้านกร่าง ที่อยู่ตรงข้ามตลาดศรีประจันต์นั้น สะท้อนให้ผู้มาเยือนเห็นถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมความเชื่อที่ผสมผสานอยู่ในท้องถิ่นเดียวกันอย่างลงตัว สิ่งน่าสนใจในเส้นทาง
1. ศาลเจ้าพังม่วง ศาลเจ้านี้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2432 ในรัชกาลที่5 โดยชาวจีนโพ้นทะเลผู้มีจิตศรัทธาได้อัญเชิญกระถางธูปและเทวรูปบูชามาจากเมืองจีนแล้วสร้างศาลเจ้าเป็นอาคารไม้ จนเมื่อปี พ.ศ 2532 สาธุชนได้ร่วมกันสร้างอาคารใหม่ขึ้นแทนเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนมีทรวดทรงแบบสถาปัตยกรรมจีน ตกแต่งประดับประดาด้วยงานปูนปั้นอย่างสวยงามและเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของจีน ไม่ว่าจะเป้นปูนปั้นรูปสัตว์มงคล เช่น มังกร หงส์ เสือ และลวดลายมงคลอื่นๆ เช่น ลายเมฆ ลายดอกไม้ เป็นต้น
2. วัดบ้านกร่าง วัดใหญ่ที่มีชื่อเสียงของอำเภอศรีประจันต์แห่งนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สิ่งสำคัญของวัดนอกจากพระเครื่องที่รู้จักกันดีคือ พระขุนแผนพิมพ์ต่างๆ ซึ่งสันนิษฐานว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างหลังจากทรงทำยุทธหัตถีแล้วเดินทัพผ่านเส้นทางนี้ ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปที่ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาอย่างสูงคือ " หลวงพ่อแก้ว " ประดิษฐานเป็นพระประธานของวิหารเก่าสมัยอยุธยา บริเวณริมน้ำมีเจดีย์ทรงย่อมุขไม้สิบสองสีขาว สร้างในสมัยรัชกาลที4 เดิมองค์พระเจดีย์ตั้งอยู่กลางแม่น้ำ แต่ด้วยกระแสน้ำที่เปลี่ยนไปผ่านตามกาลเวลา ทำให้แผ่นดินงอกออกมาจนบรรจบกับพระเจดีย์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
จุดลงเรือ
ผู้สนในล่องเรือในเส้นทางนี้จะต้องมาเป็นหมู่คณะอย่างน้อย 10 คขึ้นไป เรือที่ให้บริการเป็นเรือใหญ่ขนาด 70 ที่นั่ง โดยติดต่อล่วงหน้ากับหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย โทร 0 3558 2591-3, 0 2619 6326-9

ของฝาก ของที่ระลึก

ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นต่างๆ

กลุ่มแม่บ้านทิพย์ญาดา
52/21 ม.3 หมู่บ้านญาดา 2 ต.รั้วใหญ่ โทร. 08 9800 4584 0 3552 2670 (ทองม้วนพริกเผา ทองม้วนปลาช่อน และขนมขบเคี้ยว)
กลุ่มศิลปหัตถกรรมบ้านธรรมกุล
งานจักสาน งานแจกันดินเผาแนวจิตรกรรมไทย 60 ม.5 ต.พิหารแดง เลยวัดพระนอนไปเล็กน้อย โทร. 0 3540 8400 08 9817 7856
เจริญชัย1
(สี่แยกแขวงกรมทาง/หลวง) 10 ถ.มาลัยแมน ต.ท่าพี่เลี้ยง โทร.0 3552 2454 (สาลี่สุพรรณ ปั้นขลิบ ขนมลูกเต๋า เปิดบริการ 06.30-20.00 น.)
พัชนี บ้านสาลี่สุพรรณ
แหล่งรวมของกินและของฝาก188 ม.2 ถ.บางบัวทอง-สุพรรณบุรี กม.ที่ 91 ต.ท่าระหัด โทร. 0 3552 6101 (สาลี่สุพรรณ ปั้นขลิบ ขนมลูกเต๋า เปิดบริการ 08.00-19.30 น.)
แม่บ๊วย
279 ม.5 ตลาดบางปลาม้า ต.โคกคราม โทร. 0 3558 7077, 0 3558 6416 (สาลี่สุพรรณ หม้อแกง สาลี่ทิพย์ ขนมชั้น วุ้นกระทิ)
ร้านขุนแผน
(ศูนย์ของดีเมืองสุพรรณ) ตั้งอยู่ริมถ.สายสุพรรณ-บางบัวทอง หน้าวัดโพธิ์คอย ต.ท่าระหัด อ.เมือง จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกลุ่มแม่บ้านในจังหวัดสุพรรณบุรี สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดสุพรรณบุรี เช่น ขนมสาลี่สุพรรณ ปลาสลิดแดดเดียว เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา ศูนย์แห่งนี้เปิดวันธรรมดา 08.30-19.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ 08.30-20.30 น. โทร.0 3552 3599
เอกชัย สาลี่สุพรรณ
(สำนักใหญ่) 222/2 ม.5 ถ.สุพรรณบุรี-บางบัวทอง ต.ท่าระหัด โทร. 03541 2424, 0 3541 2476 โทรสาร 0 3541 2475 กรุงเทพฯ โทร. 0 2964 0003 (สาลี่สุพรรณ ขนมสาลี่ทิพย์ เปี๊ยะนมข้น ลูกเต๋าไส้งาดำ ครองแครงกรอบ 3 รส)
เอกชัย สาขาปราสาททอง
(ติดประตูทางเข้าวัดปราสาททอง) 151 ถ.หมื่นหาญ ต.ท่าพี่เลี้ยง โทร. 0 3551 1202, 03551 1205
กลุ่มหัตถกรรมจักสานบ้านโพธิ์ศรี
(วัดโพธิ์ศรี) 2/3 ม.3 ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า โทร. 08 1274 6092, 0 3558 7684 จำหน่ายเครื่องจักสานประเภทตะกร้า กระบุง)
กลุ่มศิลปไม้ไผ่
85 ม.10 ถ.สุพรรณบุรี-บางบัวทอง ต.โคกคราม โทร. 08 6887 8329,08 9983 5952, 0 3540 0226, 0 7972 4721 (จำหน่ายเครื่องประดับ เครื่องเรือน เครื่องตกแต่งบ้านจากไม้ไผ่)
ไข่เค็มไอโอดีน
70 ม.10 บ้านวัดโบสถ์ ต.มะขามล้ม โทร. 0 3551 6274, 0 3541 6351,08 6011 4309 กลุ่มแม่บ้านบ้านไผ่เง 336 ม.1 ถ.สุพรรณ-สวนแตง(ไปทางวัดตะลุ่ม) ต.วังน้ำเย็น โทร. 0 3541 6497 (จำหน่ายชาตะไคร้ กล้วยตาก กล้วยม้วน มะขามแช่อิ่ม)
เบญจรงค์
104 ม.1 ถ.บางแม่ม่าย ต.บ้านแหลม โทร. 0 3540 0176, 08 7155 1416 (จำหน่ายเครื่องเบญจรงค์ เครื่องปั้นดินเผา)
ผลิตภัณฑ์ไม้กวาดพันปี
1 ม.4 ถ.สุพรรณบุรี-บางสาม ต.วังใหญ่ (ทำจากใยมะพร้าวและดอกหญ้า) ไม้กวาดใยมะพร้าว ทำที่บ้านบางแม่หม้าย อำเภอบางปลาม้า ทางหลวงหมายเลข 3351 กิโลเมตรที่ 17-18 เข้าทางเดียวกับทางเข้าวัดอาน ชาวบ้านจะทำไม้กวาดตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงเดือน 10-12 นอกฤดูทำนา ไม้กวาดมีลักษณะพิเศษคือ มีความทนทาน ด้ามสวยงาม สอบถามรายละเอียดติดต่อ คุณประจวบ อ่อนละมูล โทร. 0 3542 4249 แม่บ๊วย 279 ม.5 ตลาดบางปลาม้า ต.โคกคราม โทร. 0 3558 7077, 0 3558 6416 (สาลี่สุพรรณ หม้อแกง สาลี่ทิพย์ ขนมชั้น วุ้นกระทิ)
สาโท บางม้า
บริษัทบัณฑิตพัฒน์–เทค จำกัด 84 ม.8 ถ.คอวัง-บางแม่ม่าย ต.บางปลาม้า โทร. 0 3558 7387,01874 1744,08 1571 1984 โทรสาร 0 3540 0116
กล้วยอบเนย
216 ม.2 หมู่บ้านยางขาคีม ต.บ้านกร่าง โทร. 0 3554 8344, 0 3554 8842
ผลไม้กระป๋องสโนว์เฮาส์
300/3 ม.3 ถ.สุพรรณ-ชัยนาท ต.ศรีประจันต์ โทร. 0 3558 1099, 0 3558 1648-9 โทรสาร 0 3558 2217
ศูนย์สินค้าโรงงาน (สุพรรณบุรี)
222/1 ม.1 ม.บ้านอนุรักษ์ควายไทย ถ.สุพรรณบุรี-ชัยนาท อ.ศรีประจันต์ โทร. 0 3558 1668, 0 3558 2591-2 (จำหน่ายวิทยุ เสื้อผ้า รองเท้ากีฬา )
หจก. อโลเวล่า สุพรรณบุรี
612 ม.3 ถ.ศรีประจันต์-ดอนเจดีย์ ต.ศรีประจันต์ (เครื่องดื่มว่านหางจระเข้ ผลไม้กระป๋อง แห้ว กระจับ ลูกตาล เงาะ) โทร. 0 3558 1371, 08 1857 4374, 03558 4446
กลุ่มจักสานบ้านทุ่งแฝก
(จากวัดทุ่งแฝกไป 11 กิโลเมตร) 47/1 ม.2 ถ.สุพรรณ-ชัยนาท ต.วังลึก โทร. 0 3558 1101 (ผลิตภัณฑ์จักสาน ตะกร้า)
การุณโต๊ะมุก
(ครัวลูกแม่หยา) 932 ม.2 ถ.เลียบแม่น้ำท่าจีน ต.สามชุก โทร. 0 3557 1731, 08 1909 0519 (รับสั่งทำโต๊ะม.บูชา ผลิตภัณฑ์จากไม้)
จักสานผักตบชวา
27 ม.2 บ้านห้วยทราย ต.โคกช้าง โทร. 08 1858 3548 (จำหน่ายตะกร้า เฟอร์นิเจอร์ ของชำร่วยทำจากผักตบชวา)
ทานตะวันช็อป
106/2 ม.7 ต.เดิมบาง โทร. 0 3557 8090, 0 3557 8239, 0 3550 8465-6 โทรสาร 0 3557 8239 (จำหน่ายแห้ว กระจับ เงาะ วุ้นในน้ำเชื่อมและน้ำเชื่อม)
ผลิตภัณฑ์เรือนรักษ์สมุนไพร
บ. เรือนรักษ์สมุนไพร จำกัด 3/5 ม.6 ถ.สุพรรณ-ชัยนาท ต.นางบวช โทร. 0 3551 5366,0 3551 5943,0 2676 1348
ผ้าทอพื้นเมืองโบราณ ลาวซี–ลาวครั่ง
25/1 ม.5 (บ้านทุ่งก้านเหลือง) ต.ป่าสะแก โทร. 08 9926 2864
หน่อไม้ไผ่ตงแกะสลัก
45/1 ม.7 ต.เขาพระ
ผ้าไหม
628 ม.9 บ้านทุ่งแสม ถ.ด่านช้าง-หนองเตย ต.หนองขาม โทร. 0 3559 5400, 08 1338 0777, 08 7067 2297 (จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าตีนจก ผ้าม่อฮ่อม)
ข้าวกล้องหอมมะลิ
30/2 ม.1 บ้านบัลลังก์ ต.หนองหญ้าไซ โทร. 0 3557 7131, 08 9800 2294, 08 1943 8507 กลุ่มผ้าปักด้นมือ 142 ม.3 ถ.มาลัยแมน ต.กระจัน อ.อู่ทอง โทร. 0 3555 1300 (จำหน่ายผ้าปักด้นมือ ลวดลายสวยงาม)
ซองเดอร์ เครื่องดื่มธัญญาพืชสำเร็จรูป
129 ม.1 ถ.ด่านช้าง-มาลัยแมน ต.หนองโอ่ง โทร. 08 9922 7813, 0 2967 1200
ผ้าทอวังทอง
24 ม.13 บ้านวังทอง ต.จระเข้สามพัน โทร. 03548 4080,08 1924 4509
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย รพ. อู่ทอง 2024 ม.6 ถ.มาลัยแมน ต.อู่ทอง โทร. 0 3556 5554, 0 3556 5555, 08 1981 0568, 08 9949 3167
ผัก ผลไม้ประดิษฐ์
298 ม.6 ถ.ท่าพระยาจักร ต.อู่ทอง โทร. 0 3555 2991, 08 1941 1030
สหกรณ์สวนป่าภาคเอกชนสุพรรณบุรี จำกัด
468-470 ม.17 ถ.อู่ทอง-ด่านช้าง ต.ดอนคา โทร. 0 3542 1744
กล้วยเลย์ กล้วยม้วน
441 ม.4 ถ.ทุ่งคอก-พระแท่นดงรัง ต.บ่อสุพรรณ โทร. 0 3540 2041, 08 7161 3404 , 08 1726 4349
ปลาหม่ำ
9 ม.4 ถ.บางสนุ่น ต.ต้นตาล โทร. 0 3554 2213, 0 3554 2270
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแก้วเจ้าจอม
ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทองม้วนซึ่งสมาชิกร่วมกันพัฒนาจากรสกะทิ โดยการนำสมุนไพรมาใส่สำหรับคนที่เอาใจใส่สุขภาพ เช่น รสขิง รสชาเขียว รสน้ำพริกเผาใบมะกรูด รสใบหม่อน รสกาแฟ รสกระเทียม รสสาหร่าย รสต้นหอมและรสถั่วดำ รสชาติอร่อย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 3552 9004, 0 1403 0998
กลุ่มอาชีพหัตถกรรมรากไม้
32 ม.6 บ้านหนองผือ ต.ด่านช้าง โทร. 0 3552 9200

ร้านจำหน่ายของที่ระลึก

โรงงานเครื่องเคลือบดินเผาเบญจรงค์ทอง
ที่อยู่ : 16/7 หมู่ 7 ถนนสุพรรณ-ชัยนาท (สายเก่า) ตำบลโพธิ์พระยา (เครื่องลายคราม และเครื่องเบญจรงค์) อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีโทรศัพท์ : 0 3551 1909, 0 3552 3792
เจริญชัย 2
ที่อยู่ : ติดขนส่งจังหวัด ถ. มาลัยแมน-บางบัวทอง (สาลี่สุพรรณ) อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีโทรศัพท์ : 0 3550 2502, 0 3551 1096
เจริญชัย 1
ที่อยู่ : สี่แยกแขวงกรมทางหลวง ถ. มาลัยแมน (สาลี่สุพรรณ) อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีโทรศัพท์ : 0 3552 2454
แม่บ๊วย
ที่อยู่ : 44 หมู่ 5 ตลาดบางปลาม้า (สาลี่สุพรรณ) อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีโทรศัพท์ : 0 3558 7077
สถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นต่างๆ
ที่อยู่ : 60 หมู่ 5 ตำบลพิหารแดง เลยวัดพระนอนไปเล็กน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีโทรศัพท์ : 0 3540 8400, 08 9817 7856
เอกชัย
ที่อยู่ : ถนนสุพรรณบุรี-บางบัวทอง (สาลี่สุพรรณ) อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีโทรศัพท์ : 0 3541 2424, 0 3541 2475-6
โรงงานทางตะวัน
ที่อยู่ : ถนนสุพรรณ-ชัยนาท (สายเก่า) อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
กลุ่มศิลปหัตถกรรมบ้านธรรมกุลงานจักสาน
งานแจกันดินเผาแนวจิตรกรรมไทย หัตถกรรมแจกันดินเผาของที่นี่โดดเด่นด้วยการนำแจกันรูปทรงต่างๆ มาแต่งแต้มเรื่องราวในวรรณคดี แล้วสานด้วยผักตบชวาหุ้มอีกที เป็นการพัฒนารูปแบบให้สวยงามและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ จนได้รับการคัดสรรให้เป้นสินค้า OTOP ของจังหวัดที่อยู่ : 60 หมู่ 5 ตำบลพิหารแดง เลยวัดพระนอนไปเล็กน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีโทรศัพท์ : 0 3540 8400, 08 9817 7856
ศูนย์ของดีเมืองสุพรรณ
ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 340 ก่อถึงตัวเมืองสุพรรณบุรีประมาณ 10 กิโลเมตร จะอยู่ตรงข้ามกับแยกวัดโพธิ์คอย เป็นศูนย์รวมของสินค้าพื้นเมืองสุพรรณบุรี นานาชนิด

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประเพณีเมืองสุพรรณ


เจ้าพ่อหลักเมือง
เป็นพุทธปฎิมากรรมสลักบนแผ่นหินแบบนูนต่ำ (Relief) ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต ญวน เขมร นับถือ เป็นศิลปแบบขอมเป็นรูปพระวิษณุกรรมสวมหมวกแขก ในศิลปไพรกเม็ง อายุประมาณ 1300-1400 ปีมาแล้ว มีพระนามว่าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือ พระนารายณ์สี่กร มีหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ และเหล่าสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ประสพแต่ความสุขความเจริญ เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม ตามคำบอกเล่าต่อๆกันมา เมื่อประมาณ 150 ปีมาแล้ว มีผู้พบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จมดินอยู่ตรงริมศาลเจ้าพ่อ ชาวบ้านจึงช่วยกันอัญเชิญขึ้นข้างบน พร้อมกับสร้างศาลใหม่ให้เป็นที่ประทับ มีคนจีนชื่อ เฮียกงเป็นผู้ดูแลรักษาเรื่อยมาเมื่อครั้งโบราณมีคำกล่าวว่า ห้ามเจ้าไปเมืองสุพรรณจะทำให้มีอันเป็นไป เมื่อ พ.ศ. 2435 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการเมืองสุพรรณ ได้ทรงสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง ได้ประทานทรัพท์ส่วนพระองค์สร้างศาลเพิ่มขึ้น พร้อมวางแผนให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุพรรณ พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระดำรัสว่า "เข้าทีดีหนักหนา แต่เขาไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ ว่าถ้าขืนไปจะเป็นบ้าไม่ใช่หรือ" สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงกราบบังคมทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไปมาแล้วไม่เห็นเป็นอะไร ยังรับราชการมาจนบัดนี้ พระพุทธเจ้าหลวงทรงตรัสสั้นๆว่า "ไปซิ" จากนั้นพระองค์จึงเสด็จมาเมืองสุพรรณ ในคราวเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447 และทรงกระทำพลีกรรมเจ้าพ่อหลักเมือง และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อสร้างเขื่อนรอบเนินศาล ทำชานไว้สำหรับคนที่บูชา สร้างกำแพงแก้ว ต่อตัวศาลเพิ่มเติมออกมา ข้างหน้าเป็นแบบเก๋งจีนปัจจุบันบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองมีเนื้อที่ 21 ไร่เศษ โดยทั่วไปศาลหลักเมืองนั้นจะทำด้วยไม้ บนยอดจะเป็นหัวเม็ด แต่หลักเมืองของสุพรรณนี้พิเศษกว่าหลักเมืองทั่วไปคือ จะเป็นหินและมีพุทธปฎิมากรอยู่ด้วย

งานทิ้งกระจาด
เป็นพิธีกรรมของชาวพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และได้จัดติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 100 ปีมาแล้ว เมื่อครั้งพุทธกาลที่พระอานนท์กำลังบำเพ็ญสมาธิปรเวกธรรม อยู่ที่นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ ได้มีอสูรกายตนหนึ่งได้แสดงร่างเป็นเปรต แล้วกล่าวกับพระอานนท์ว่า อีกสามวันพระพุทธเจ้าจะสิ้นพระชนม์ พระอานนท์จึงถามว่าจะแก้ไขได้อย่างไร เปตรตอบว่าจะต้องทำพิธีอุทิศเครื่องอุปโภคบริโภค เป็นไทยทาน พระองค์จึงจะอยู่รอด และจะมีพระชนมายุยืนนานอีกด้วย พระอานนท์จึงทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ และทรงโปรดให้ประกอบพิธีเมตตาธรรม ด้วยการโปรยทาน งานบุญทิ้งกระจาดจึงเกิดขึ้นด้วยเหตุนี้โดยเริ่มกลางเดือน 7 ของจีน แต่จะตรงกับเดือน 9 ของไทยทางจันทรคติ เป็นเวลา 5 วัน 5 คืน พอวันที่ 3 จะเป็นวันทิ้งกระจาดฟ้า โดยจะมีการทิ้งสิ่งของหรือไม้ติ้ว ที่มีหมายเลขเขียนไว้จากที่สูงลงมา ผู้ที่มาชมงานถ้าใครรับไม้ติ้วได้หมายเลขไดก็นำไปรับสิ่งของตามหมายเลขนั้น ซึ่งมีค่ามากน้อยลดลดหลั่นกันแล้วแต่โชค ส่วนงานทิ้งกระจาดดิน จะต่างกับการทิ้งกระจาดฟ้าตรงที่ของนั้นจะทิ้งไว้บนพื้นดิน เพราะถือว่าการทิ้งการจาดดิน เป็นการทิ้งทานให้แก่พวกภูตผีปีศาจทั้งหลายในวันแรกของงานทิ้งกระจาดจะมีขบวนแห่ที่สวยงาม มีความยาวและยิ่งใหญ่กว่างานใดๆในจังหวัด มีขบวนเชิดสิงโต มังกร ขบวนธงทิว โดยสาวงามจากท้องถิ่นต่างๆในจังหวัด มีชุดฟ้อนรำลำกลองยาว ล่อโก๊ว ที่สำคัญคือมีขบวนหาบสิ่งของเพื่อไปอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมือง โดยนำมาเพียงกระถางธูปแทนเท่านั้น จากนั้นก็นำมายังสถานพิธีที่สมาคมจีน จะมีการออกร้าน แสดงสิ้นค้า และมหรสพต่างๆ โดยเฉพาะงิ้ว

สำเนียงเสียง "เหน่อ"
จุดเด่นของความเป็นคนสุพรรณ เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นสำเนียงพูด คนสุพรรณไปอยู่ที่ใหนก็ตาม ผู้คนทั่วไปจะรู้ได้ไม่ยากนัก จากสำเนียงเสียง "เหน่อ" แต่...ช่างน่าเศร้าใจ ที่คนทั่วไปมักจะเห็นว่าสำเนียงเสียงเหน่อของคนสุพรรณนั้น ฟังแล้วชวนขบขัน เขาหาว่าคนสุพรรณบ้านนอก โง่ เซ่อ เฉิ่ม เชย เลยได้เป็นแค่คนรับใช้ในหนังในละครเสียงเหน่อของคนสุพรรณนั้น นักวิชาการระบุว่าน่าจะเป็นสำเนียงหลวง เป็นสำเนียงดั้งเดิมของคนไทย เพราะเจ้าเมืองสุพรรณเคยเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา ได้อพยพผู้คนจากสุพรรณบุรี ไปอยู่ที่ราชธานีศรีอยุธยาด้าย ภาษาที่ใช้ในราชสำนักสมัยนั้น จึงน่าจะเป็นภาษาที่คนสุพรรณพูดจาอยู่เดิม เมื่อสิ้นอยุธยา ราชธานีย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรีและพระนคร ก็มีคนจีนจำนวนมากมาตั้งหลักแหล่งทำมาค้าขายกัน ทำให้ภาษาคนกรุงที่เคยเป็นสำเนียงสุพรรณก็เพี้ยนผันปนกับสำเนียงจีน กลายเป็นสำเนียงคนบางกอกไปเสียงเหน่อสุพรรณที่ยังฝังแน่นกับคนพื้นถิ่น บางคนหาว่าน่าขบขัน แท้จริงนั้นเป็นสำเนียงของความเป็นไทย เป็นเสน่ห์เป็นความจริงใจ ที่จะไม่ลบเลือนไปจากหัวใจ และวิถีของคนสุพรรณจากหนังสือ แล....ล่อง ท่องสุพรรณ
ีเพลงพื้นบ้าน
สุพรรณบุรี มีเพลงพื้นบ้านที่ร้องเล่นกันมาแต่สมัยโบราณ เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงอีแซว ด้วยสุพรรณบุรีเป็นเมืองเกษตรแต่ดั้งเดิม อาชีพหลักคือการทำนา และประเพณีสำคัญที่ชาวสุพรรณรู้จักดี ก็คือประเพณี "ลงแขกเกี่ยวข้าว" คนสุพรรณเป็นคนที่มีนิสัยรื่นเริงชอบความสนุกสนาน เมื่อออกแรงทำนาเกี่ยวข้าว ก็จะหาอะไรที่สนุกเล่น แก้เหนื่อย ทำให้เกิดความคึกคัก ในระหว่างทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดเพลงพื้นบ้านขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นกำ เพลงสงฟาง คนสุพรรณเล่นเพลงเหล่านี้มา ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวดสืบต่อกันมา และขยายเป็นแหล่งชุมเพลงใหญ่ของประเทศ การเล่นเพลงพื้นบ้านนั้น ไม่ได้เล่นแค่คนสองคน แต่เล่นกันเป็นหมู่คณะ คนใหนเก่งก็เป็นพ่อเพลง แม่เพลง เก่งน้อยหน่อยว่าเองไม่ได้ ก็เป็นลูกคู่คอยกระทุ้ง บางคนก็คอยเคาะจังหวะ ตีเกราะ เคาะไม้ ตามสนุกพวกที่ร้องเล่นไม่ได้ ก็นั่งฟังหรือกระโดดโลดเต้นไปตามจังหวะด้วยเหตที่คนสุพรรณมีวิถีชีวิตใกล้ชิดอยู่กับเพลงพื้นบ้าน ทำให้เพลงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจิตวิญญาน ของคนสุพรรณเกือบทุกคน ทำให้เกิดศิลปินพื้นบ้าน ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินที่มีชื่อเเสียงมากมายครูมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ปี 2528แม่บัวผัน จันทร์ศรี ศิลปินแห่งชาติ(เพลงพื้นบ้าน) ปี2533ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ ปี 2537แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ (เพลงพื้นบ้านแห่งยุค) ปี 2539ครูไวพจน์ เพชรสุพรรณ ศิลปินแห่งชาติ (ยอดศิลปินเพลงแหล่) ปี 2540

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

เกิดที่บ้านท้ายน้ำตก ริมแม่น้ำด้านใต้ตัวเมืองสุพรรณบุรี ศึกษาเล่าเรียนทางพระปริยัติธรรมจนได้เปรียญ และได้เป็นครูในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ต่อมาได้โดยเสด็จพระเจ้าลูกเธอ 4 พระองค์ ในพรธเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ออกไปทรงศึกษา ณ ต่างประเทศ ท่านได้ใช้เวลาว่างในการศึกษาภาษาอังกฤษ และมีโอกาสตามเสด็จในการไปศึกษาดูงานในที่ต่างๆ จนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นผู้ช่วยเลขานุการฑูตสยาม ณ กรุงลอนดอน และเป็นพระวิจิตรวรสาส์นเลขานุการฑูตไทย ประเทศสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา เมื่อกลับมาประเทศไทยท่านได้รับราชการในกระทรวงมหาดไทย เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชเป็นคนแรก ในตำแหน่งพระยาสุขุมนัยพินิต ได้พัฒนาปรับปรุงระเบียบการปกครองเจ็ดหัวเมืองภาคใต้เป็นอย่างดี จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดี กระทรวงโยธาธิการ และเสนาบดีกระทรวงนครบาล ตามลำดับ ผลงานของท่านที่กลับมารับราชการในส่วนกลางนั้น เป็นที่น่าประหลาดใจในความสามารถของท่านเป็นอย่างยิ่ง จากเด็กวัดชาวสุพรรณบุรี สู่การเป็นครู และฑูตสันถวไมตรี ท่านกลับมีความสามารถในการก่อสร้างอย่างน่าอัศจรรย์ ท่านเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างประปาพระนคร ไฟฟ้านครหลวง ผู้อำนวยการสร้างถนน สะพานทุกแห่ง ร่วมทั้งพระที่นั่งอนันตสมาคมอันสง่างาม จนได้รับการพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยายมราช ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คุณงามความดีและความรับผิดชอบในการปฎิบัติราชการด้วยความซื่อตรง อุตสาหะ ของท่านเจ้าพระยายมราช ทำให้ท่านก้าวเข้าสู่ตำแหน่งสูงสุดในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และอยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงแก่อนิจกรรม ปัจจุบันสถานที่ซึ่งยังเป็นอนุสรณ์อยู่ก็คือ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช และบ้านเรือนไม้หลังเก่าที่สร้างอยู่ในบริเวณบ้านเดิมของท่านด้านข้างโรงพยาบาล

สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณศิริ)

ชาวสุพรรณผู้มีคุณูปการ และสร้างชื่อเสียงเกียรติภูมิให็กับถิ่นฐานบ้านเกิดของท่าน ที่เป็นพระสังฆราชา จนได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์สูงสุด ถึงสมเด็จพระสังฆราช คือสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก องที่ 17 (ปุ่น สุขเจริญ) สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) ประสูติที่ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ทรงศึกษาปริยัติธรรม ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค และยังมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษและภาษาจีนอีกด้วย ท่านเป็นพระภิกษุที่ชอบศึกษาค้นคว้า ชอบฟังปาฐกถา จนมีความรู้กว้างขวาง และมีความสามารถด้านการประพันธ์ ปรากฎผลงานมากมาย เช่น หนี้กรรมหนี้เวร พุทธชยันตี ลิขิตสมเด็จ และยังเป็นองค์เทศนา (ปฎิภาณ) ที่เป็นเยี่ยม ทรงได้รับการสถาปนา เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปริณายก องค์ที่ 17 เจ้าอาวาสวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม และอยู่ในพระสมณศักดิ์นี้จนสิ้นพรธชนม์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2516 อนุสรณ์สถานที่ชาวสุพรรณยังระลึกถึง พระคุณของท่านจวบจนทุกวันนี้คือ การสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ขึ้น ที่บ้านเกิดของท่าน คืออำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี


เมืองโบราณอู่ทอง

ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจระเข้สามพัน ลักษณะเป็นรูปวงรีขนาด 1,850x820 เมตร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ทิตตะวันตกเป็นเทือกเขารางกะปิด เขาคำเทียมและเขาพระ ทิศตะวันออกเป็นที่ราบกักเก็บน้ำ นอกเมืองมีแนวคันดินเป็นถนนโบราณ เรียกว่า ถนนท้าวอู่ทอง และแนวคันดินรูปเกือกม้า เรียกว่า คอกช้างดิน คงจะเป็นเพนียดคล้องช้างโบราณ หรือสระเก็บน้ำในศาสนาพราหมณ์ เมืองโบราณแห่งนี้มีร่องรอยการอยู่อาศัยของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2500-2000 ปีมาแล้ว ได้พบ เครื่องมือหินขัด ภาชนะดินเผา แวปั่นด้ายดินเผา เป็นต้น ต่อมาได้พัฒนาตนเองสู่สังคมเมืองสมัยประวัติศาสตร์ ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ ในราวพุทธศตวรรษที่ 5-9 เช่น เวียดนาม จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และยุโรป มีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางการค้า และเมืองท่าร่วมสมัยกับเมืองออกแก้ว ของประเทศเวียดนาม ได้พบลูกปัดแก้ว และเหรียญกษาปณ์ เหรียญโรมันสมัยจักรพรรดิวิคโตรินุส เป็นต้น ได้รับรูปแบบทางศาสนา ศิลปกรรมแบบอมราวดีจากอินเดีย ได้พบประติมากรรมดินเผารูปพระสงฆ์ 3 องค์อุ้มบาตร และพระพุทธรูปปูนปั้นนาคปรกศิลปะแบบอมราวดี เป็นต้นศาสตราจารย์ชอง บวสเซอริเยร์ เชื่อว่าเมืองอู่ทองน่าจะเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งพระสมณฑูต เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 270-พ.ศ. 311 นายพอล วิทลีย์ เชื่อว่าเมืองจินหลิน ตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทอง เป็นรัฐสุดท้ายที่พระเจ้าฟันมัน แห่งอาณาจักรฟูนันปราบได้ ในพุทธศตวรรษที่ 9 เมื่ออาณาจักรฟูนันล่มสลายลง ในปลายพุทธศตวรรษที่ 11 รัฐทวารวดีได้เจริญขึ้นมาแทนที่ ในรุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และรุ่งเรืองสูงสุดในราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 บันทึกของพระภิกษุเหี้ยนจัง ได้กล่าวถึงอาณาจักรโตโปตี้ หมายถึงทวารวดี ได้พบเหรียญเงินจารึกว่า “ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ” ยืนยันการมีตัวตนของอาณาจักรทวารวดี มีเมืองอู่ทองเป็นเมืองหลวง และศูนย์กลางทางศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และวัฒนธรรมทวารวดี ประชาชนนับถือศาสนาพุทธลัทธิเถรวาทเป็นหลัก ใช้ภาษามอญ ยึดถือคติทางศาสนา รูปแบบศิลปคุปตะจากอินเดีย โบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่พบในเมืองอู่ทอง เป็นศิลปกรรมสมัยทวารวดี เช่น เจดีย์เศียรพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปปางประทานธรรม ธรรมจักร ในขณะเดียวกันศิลปศรีวิชัยซึ่งนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายานได้เผยแพร่เข้ามา ได้พบพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร และพระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ เป็นต้น เมืองอู่ทองได้หมดความสำคัญ และร้างไปในราว พุทธศตวรรษที่ 16 จึงรอดพ้นจากอิธิพลเขมรในราวพุทธศตวรรษที่ 16 (สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) โดยปรากฎเมืองโบราณสุพรรณบุรีเจริญขึ้นมาแทนที่
จากเอกสาร สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 2 สุพรรณบุรี


ขุนช้าง-ขุนแผน
เป็นวรรณกรรมอมตะไทยมาช้านาน ตามประวัติกล่าวว่านักขับเสภาครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้แต่ง ( เสภาคือหนังสือกลอนโบราณ ที่นำเอานิทานมาแต่งเป็นกลอนสำหรับขับลำนำ ) แต่เหลือมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์บางตอน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงโปรดให้เหล่ากวีในพระราชสำนักแต่งขึ้นใหม่ รวมทั้งพระองค์ท่านเองทรงพระราชนิพนธ์ ตอน "พลายแก้วเป็นชู้กับนางพิมพ์" ตอน "ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง" และตอน "เข้าห้องแก้วกิริยาและพาวันทองหนี" รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชนิพนธ์ตอน "ขุนช้างตามวันทอง" บรมครูสุนทรภู่แต่งตอน "กำเนิดพลายงาม" ต่อมาครูแจ้งในรัชกาลที่ 4 แต่งตอน "กำเนิดกุมารทอง" ตอน "ขุนแผน พลายงามแก้พระท้ายน้ำ" และตอน "ขุนแผน พลายงามสะกดเจ้าเมืองเชียงใหม่" ที่มาของเรื่อง กล่าวกันว่าเป็นจริงตามนิทานพื้นบ้าน เกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2034 -2072 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ถูกสมมุติพระนามในเสภาว่า "พระพันวษา" เนื้อเรื่องเอาเกร็ดประวัติศาสตร์ตอนไทยทำสงครามกับเชียงใหม่และล้านช้าง แล้วเอามาผูกเข้ากับวิถีชีวิตของชาวเมืองสุพรรณและกาญจนบุรี โดยเฉพาะการชิงรักหักสวาทของ 1 หญิง 2 ชาย คือ นางพิมพิลาลัยหรือนางวันทอง ขุนแผนหรือพลายแก้ว และขุนช้าง อรรถรสทางด้านภาษาและเนื้อหา เป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนยุคสมัยนั้น จนเป็นวรรณกรรมอมตะมาจนถึงทุกวันนี้

เรื่องย่อ
เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องจริง ตามหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวว่า มีกษัตริย์ใน สมัยกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระพันวษา ครั้งหนึ่งเกิดสงครามกับนครเชียงใหม่ เนื่องจากพระเจ้าโพธิสารราชกุมาร เจ้าเมืองเชียงใหม่ ไม่ชอบที่พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตลานช้าง มาเป็นมิตรกับอยุธยา จึงยกทัพมาแย่งชิงพระธิดาแห่งลานช้างไป พระพันวษาทรงพระพิโรธ จึงมีราชโองการสั่งให้เตรียมทัพและตรัสกับพระหมื่นศรีมหาดเล็ก ให้เลือกทหารที่มีฝีมือมารบ ซึ่งในบัดนั้นผู้ที่จะเก่งกล้าเกินกว่าขุนแผนนั้นไม่มี แต่พระหมื่นศรีมหาดเล็กทูลพระพันวษาว่า ขุนแผนยังอยู่ในคุก พระพันวษาก็ทรงระลึกได้ถึงขุนแผน จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ขุนแผนพ้นโทษโดยเร็ว และแต่งตั้งขุนแผนเป็นแม่ทัพออกรบ ก่อนที่ขุนแผนจะออกรบได้แวะที่เมืองพิจิตร เพื่อรับดาบและม้าวิเศษประจำตัวขุนแผน (ดาบฟ้าฟื้นและม้าสีหมอก) ที่ฝากไว้กับพระพิจิตร และขุนแผนก็สามารถตีกองทัพเชียงใหม่จนแตกพ่าย ในคำให้การชาวกรุงเก่า มีเรื่องขุนช้างขุนแผนปรากฏอยู่เท่านี้ เห็นได้ว่าไม่ตรงกับเรื่องขุนช้างขุนแผนที่เราขับเสภากันอยู่ เพราะเรื่องนี้นำมาเล่าเป็นนิทานนานมาแล้วและยังแต่งเป็นกลอนเสภาอีก สันนิษฐานได้ว่าคงมีการตกแต่งเรื่องให้แปลกสนุกสนานและยาวยิ่งขึ้น
ตำนานรัก ขุนช้าง ขุนแผนและนางพิมขุนแผนบุตรชายของขุนไกร พลพ่าย ผู้เก่งกล้าอาศัยอยู่ที่บ้านย่านวัดตระไกร มีเพื่อนในวัยเด็กที่มาเล่นด้วยกันเสมอ คือขุนช้างและนางพิม จนกระทั้งขุนไกรถูกพระพันวษาประหารชีวิต เพราะไม่สามารถสกัดควายป่าไว้ได้ นางทองประศรีผู้มารดาจึงพาขุนแผนไปอยู่เมืองกาญจนบุรี และได้บวชเป็นสามเณรที่วัดส้มใหญ่ เล่าเรียนวิชาจนหมดความรู้ของพระอาจารย์ นางทองประศรีจึงนำมาฝากกับสมภารมีที่วัดป่าเลไลก์ เมืองสุพรรณ ขุนแผนมีความสามารถในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์มัทรีได้ไพเราะจับใจ ในวันออกพรรษาสามเณรพลายแก้วได้ขึ้นเทศน์และเทศน์ได้ไพเราะนัก นางพิมก็เกิดศัทธา เปลื้องผ้าห่มสไบออกแทนเครื่องบูชากัณฑ์ ขุนช้างเห็นก็เปลื้องผ้าห่มของตน วางทับผ้านางพิมพ์ แล้วอธิษฐานให้ได้เจ้าของผ้าห่มสไบ ค่ำวันนั้นหัวใจของพลายแก้วและขุนช้างต่างก็ร้อนรุ่มด้วยความรักที่มีต่อนางพิม ฝ่ายขุนช้างแม้รูปชั่วหัวล้าน แต่ร่ำรวยได้ไปขอนางพิม นางสายทองเห็นดังนั้นจึงนำความไปบอกสามเณรพลายแก้วที่วัดป่า สามเณรยามอยู่ลำพังกับนางสายทองก็อดพูดจาหยอกเอินกับนางไม่ได้ ทราบถึงสมภารมี จึงได้ไล่พรายแก้วออกจากวัด สามเณรจึงไปอาศัยอยู่กับสมภารคงที่วัดแค และได้เล่าเรียนวิชาคาถาอาคม เสกใบมะขามเป็นตัวต่อ สะเดาะโซ่ตรวนกุญแจ ล่องหนหายตัว อยู่ยงคงกระพัน และได้แอบเข้าไปลักลอบได้เสียกับนางพิมพ์ ต่อมาพลายแก้วได้ไปเป็นทหาร และกลับมาพร้อมเมียใหม่ ทำให้นางพิมโกรธและเสียใจ ในขณะที่ขุนช้างก็ยังใช้เล่ห์เพื่อที่จะได้นางพิมมาเป็นเมีย จนในที่สุดนางพิมก็ตกเป็นเมียขุนช้าง ขุนแผนจึงนำเรื่องไปให้พระพันวษาตัดสินความ เมื่อสมเด็จพระพันวษา ตรัสถามว่าจะอยู่กับใคร นางก็ไม่อาจตัดสินใจได้ ขุนแผนนั้นแม้จะรักมาก แต่ก็ทำให้นางทุกข์ยากด้วยรักมานักหนา ขุนช้างนั้นน่าเบื่อระอา แต่ก็รักนางอย่างจริงใจ นางจึงตอบไปว่า แล้วแต่ทรงพระกรุณา สมเด็จพรพพันวษาทรงกริ้ว ให้นำนางวันทองไปประหารชีวิต ชีวิตของนางพิมหรือนางวันทองนั้นไซร้ ในท้ายสุดก็ไม่อาจอยู่ร่ามกับสามีและลูกได้อย่างมีความสุข เฉกเช่นชีวิตครอบครัวชาวบ้านทั่วๆไป

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอศรีประจันต์

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอศรีประจันต์

หมู่บ้านควาย และบ้านทรงไทย
ชมการจำลองวิถีชีวิตของชุมชนชาวบ้านในแถบชนบท ประกอบด้วย กระท่อมหลังคามุงจาก ฝาขัดแตะหลังเล็กสำหรับครอบครัวเริ่มต้น เรือนไทย ยุ้งข้าว เรือนโหราจารย์ ชมการแสดงความสามารถของควายไทยการแข่งขันวิ่งควาย ดูความน่ารักของควายยิ้มย้อนยุคกับการทำอาหารแบบพื้นบ้านชมศูนย์ศึกษาประโยชน์ของสมุนไพรของไทยภายในหมู่บ้านควายยังมีรีสอร์ทให้พักผ่อนท่ามกลางบรรยากาศแบบไทยสมัยโบราณการเดินทาง ตั้งอยู่ริมถนนสายสุพรรณบุรี-ชัยนาท ประมาณ 20 ก.ม. จากตัวจังหวัดสุพรรณบุรี
เวลาเปิด และค่าเข้าชม
จันทร์ - ศุกร์ 10.00 น. - 18.00 น.เสาร์ - อาทิตย์ 10.00 น. - 18.30 น.ค่า
ผ่านประตู :
ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท
โชว์ควาย :
ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท
ข้อมูลเพิ่มเติม
โครงการหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย-สุพรรณบุรี http://www.buffalovillages.com/th/index.php


อุทยานมัจฉา วัดบ้านกร่าง
อยู่บนฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรีคนละฟากกับที่ว่าการอำเภอ มีพระเครื่องเก่าสร้างไว้แต่โบราณ คือ พระขุนแผนบ้านกร่าง ด้านใต้ของวัดมีเจดีย์องค์หนึ่งอายุประมาณ 100 ปี บริเวณหน้าวัดมีปลาจำนวนมากและทางวัดได้จัดอาหารจำหน่ายนำรายได้เพื่อไปเลี้ยงปลาดังกล่าวด้วย ถือเป็นอุทยานมัจฉาแห่งหนึ่งของจังหวัดการเดินทาง ห่างจากจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร


บึงหนองจอก
อยู่ที่ตำบลวังหว้า ห่างจากจังหวัดประมาณ 27 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 78 ไร่ นอกจากเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนแล้ว ยังเป็นแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาด้วย

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอหนองหญ้าไซ

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอหนองหญ้าไซ


ภาพแห่งท้องทุ่งสีเขียวขจีตัดกับขอบฟ้าสีคราม เป็นภาพแห่งท้องทุ่งที่สงบเงียบ บอกเล่าถึงวิถีชีวิตแห่งผู้คน ซึ่งหาดูได้โดยทั่วไป แม้ความเจริญจะแผ่คลุมโดยรอบแต่ สภาพชีวิตของผู้คนที่นี้ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เกษตรกรรมและงานหัตถกรรมพื้นบ้าน บทเพลงแห่งท้องทุ่ง สายลมที่พัดต้นข้าวไหวไปมา กับฝูงควายที่เดินกลับสู่ที่พัก ยามพระอาทิตย์กำลังจะลาลับขอบฟ้า กับเวลาที่เดินไปอย่างช้าๆ เป็นเรื่องราวของชีวิตที่น่าเข้าไปสัมผัส และเรียนรู้

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอสองพี่น้อง


สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอสองพี่น้อง


วัดไผ่โรงวัว ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางตาเถร ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 43 กิโลเมตร หรือจากกรุงเทพฯ ประมาณ 70 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี มีทางแยกซ้ายก่อนถึงสามแยกลาดบัวหลวงเข้าสู่วัดไผ่โรงวัว วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 เป็นวัดที่มีพุทธ-ศาสนิกชน และบุคคลทั่วไป นิยมไปเที่ยวชมกันมาก หลวงพ่อขอม ได้ดำเนินการก่อสร้าง “พระพุทธโคดม” เป็นพระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 17 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยก พระเกตุมาลา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2512 ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับพุทธศาสนา ได้แก่ “สังเวชนียสถาน 4 ตำบล” คือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน กับงานประติมากรรมหรือภาพปั้นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัตินรกภูมิ รวมทั้งวรรณคดีและประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมี “พระธรรมจักร” หล่อด้วยทองสำริดใหญ่ที่สุดในโลก “พระกะกุสันโธ” พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก “ฆ้องและบาตร” ใหญ่ที่สุดในโลก “พระวิหารร้อยยอด” รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกมากมาย






หนองอ้อนกกะโท อยู่ที่ตำบลศรีสำราญ อำเภอสองพี่น้อง เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ อยู่ในที่ดินสาธารณะ เนื้อที่ 200 ไร่ มีเกาะเป็นรูปแผนที่ประเทศไทยกลางหนองน้ำมีศาลาเอนกประสงค์ บนเกาะใช้เป็นสถาน ที่ประชุม และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในวัดหยุดและตอนเย็นของทุกวันครับ