วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประเพณีเมืองสุพรรณ


เจ้าพ่อหลักเมือง
เป็นพุทธปฎิมากรรมสลักบนแผ่นหินแบบนูนต่ำ (Relief) ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต ญวน เขมร นับถือ เป็นศิลปแบบขอมเป็นรูปพระวิษณุกรรมสวมหมวกแขก ในศิลปไพรกเม็ง อายุประมาณ 1300-1400 ปีมาแล้ว มีพระนามว่าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือ พระนารายณ์สี่กร มีหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ และเหล่าสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ประสพแต่ความสุขความเจริญ เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม ตามคำบอกเล่าต่อๆกันมา เมื่อประมาณ 150 ปีมาแล้ว มีผู้พบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จมดินอยู่ตรงริมศาลเจ้าพ่อ ชาวบ้านจึงช่วยกันอัญเชิญขึ้นข้างบน พร้อมกับสร้างศาลใหม่ให้เป็นที่ประทับ มีคนจีนชื่อ เฮียกงเป็นผู้ดูแลรักษาเรื่อยมาเมื่อครั้งโบราณมีคำกล่าวว่า ห้ามเจ้าไปเมืองสุพรรณจะทำให้มีอันเป็นไป เมื่อ พ.ศ. 2435 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการเมืองสุพรรณ ได้ทรงสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง ได้ประทานทรัพท์ส่วนพระองค์สร้างศาลเพิ่มขึ้น พร้อมวางแผนให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุพรรณ พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระดำรัสว่า "เข้าทีดีหนักหนา แต่เขาไม่ให้เจ้าไปเมืองสุพรรณ ว่าถ้าขืนไปจะเป็นบ้าไม่ใช่หรือ" สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงกราบบังคมทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไปมาแล้วไม่เห็นเป็นอะไร ยังรับราชการมาจนบัดนี้ พระพุทธเจ้าหลวงทรงตรัสสั้นๆว่า "ไปซิ" จากนั้นพระองค์จึงเสด็จมาเมืองสุพรรณ ในคราวเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447 และทรงกระทำพลีกรรมเจ้าพ่อหลักเมือง และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อสร้างเขื่อนรอบเนินศาล ทำชานไว้สำหรับคนที่บูชา สร้างกำแพงแก้ว ต่อตัวศาลเพิ่มเติมออกมา ข้างหน้าเป็นแบบเก๋งจีนปัจจุบันบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองมีเนื้อที่ 21 ไร่เศษ โดยทั่วไปศาลหลักเมืองนั้นจะทำด้วยไม้ บนยอดจะเป็นหัวเม็ด แต่หลักเมืองของสุพรรณนี้พิเศษกว่าหลักเมืองทั่วไปคือ จะเป็นหินและมีพุทธปฎิมากรอยู่ด้วย

งานทิ้งกระจาด
เป็นพิธีกรรมของชาวพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และได้จัดติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 100 ปีมาแล้ว เมื่อครั้งพุทธกาลที่พระอานนท์กำลังบำเพ็ญสมาธิปรเวกธรรม อยู่ที่นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ ได้มีอสูรกายตนหนึ่งได้แสดงร่างเป็นเปรต แล้วกล่าวกับพระอานนท์ว่า อีกสามวันพระพุทธเจ้าจะสิ้นพระชนม์ พระอานนท์จึงถามว่าจะแก้ไขได้อย่างไร เปตรตอบว่าจะต้องทำพิธีอุทิศเครื่องอุปโภคบริโภค เป็นไทยทาน พระองค์จึงจะอยู่รอด และจะมีพระชนมายุยืนนานอีกด้วย พระอานนท์จึงทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ และทรงโปรดให้ประกอบพิธีเมตตาธรรม ด้วยการโปรยทาน งานบุญทิ้งกระจาดจึงเกิดขึ้นด้วยเหตุนี้โดยเริ่มกลางเดือน 7 ของจีน แต่จะตรงกับเดือน 9 ของไทยทางจันทรคติ เป็นเวลา 5 วัน 5 คืน พอวันที่ 3 จะเป็นวันทิ้งกระจาดฟ้า โดยจะมีการทิ้งสิ่งของหรือไม้ติ้ว ที่มีหมายเลขเขียนไว้จากที่สูงลงมา ผู้ที่มาชมงานถ้าใครรับไม้ติ้วได้หมายเลขไดก็นำไปรับสิ่งของตามหมายเลขนั้น ซึ่งมีค่ามากน้อยลดลดหลั่นกันแล้วแต่โชค ส่วนงานทิ้งกระจาดดิน จะต่างกับการทิ้งกระจาดฟ้าตรงที่ของนั้นจะทิ้งไว้บนพื้นดิน เพราะถือว่าการทิ้งการจาดดิน เป็นการทิ้งทานให้แก่พวกภูตผีปีศาจทั้งหลายในวันแรกของงานทิ้งกระจาดจะมีขบวนแห่ที่สวยงาม มีความยาวและยิ่งใหญ่กว่างานใดๆในจังหวัด มีขบวนเชิดสิงโต มังกร ขบวนธงทิว โดยสาวงามจากท้องถิ่นต่างๆในจังหวัด มีชุดฟ้อนรำลำกลองยาว ล่อโก๊ว ที่สำคัญคือมีขบวนหาบสิ่งของเพื่อไปอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมือง โดยนำมาเพียงกระถางธูปแทนเท่านั้น จากนั้นก็นำมายังสถานพิธีที่สมาคมจีน จะมีการออกร้าน แสดงสิ้นค้า และมหรสพต่างๆ โดยเฉพาะงิ้ว

สำเนียงเสียง "เหน่อ"
จุดเด่นของความเป็นคนสุพรรณ เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นสำเนียงพูด คนสุพรรณไปอยู่ที่ใหนก็ตาม ผู้คนทั่วไปจะรู้ได้ไม่ยากนัก จากสำเนียงเสียง "เหน่อ" แต่...ช่างน่าเศร้าใจ ที่คนทั่วไปมักจะเห็นว่าสำเนียงเสียงเหน่อของคนสุพรรณนั้น ฟังแล้วชวนขบขัน เขาหาว่าคนสุพรรณบ้านนอก โง่ เซ่อ เฉิ่ม เชย เลยได้เป็นแค่คนรับใช้ในหนังในละครเสียงเหน่อของคนสุพรรณนั้น นักวิชาการระบุว่าน่าจะเป็นสำเนียงหลวง เป็นสำเนียงดั้งเดิมของคนไทย เพราะเจ้าเมืองสุพรรณเคยเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา ได้อพยพผู้คนจากสุพรรณบุรี ไปอยู่ที่ราชธานีศรีอยุธยาด้าย ภาษาที่ใช้ในราชสำนักสมัยนั้น จึงน่าจะเป็นภาษาที่คนสุพรรณพูดจาอยู่เดิม เมื่อสิ้นอยุธยา ราชธานีย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรีและพระนคร ก็มีคนจีนจำนวนมากมาตั้งหลักแหล่งทำมาค้าขายกัน ทำให้ภาษาคนกรุงที่เคยเป็นสำเนียงสุพรรณก็เพี้ยนผันปนกับสำเนียงจีน กลายเป็นสำเนียงคนบางกอกไปเสียงเหน่อสุพรรณที่ยังฝังแน่นกับคนพื้นถิ่น บางคนหาว่าน่าขบขัน แท้จริงนั้นเป็นสำเนียงของความเป็นไทย เป็นเสน่ห์เป็นความจริงใจ ที่จะไม่ลบเลือนไปจากหัวใจ และวิถีของคนสุพรรณจากหนังสือ แล....ล่อง ท่องสุพรรณ
ีเพลงพื้นบ้าน
สุพรรณบุรี มีเพลงพื้นบ้านที่ร้องเล่นกันมาแต่สมัยโบราณ เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงอีแซว ด้วยสุพรรณบุรีเป็นเมืองเกษตรแต่ดั้งเดิม อาชีพหลักคือการทำนา และประเพณีสำคัญที่ชาวสุพรรณรู้จักดี ก็คือประเพณี "ลงแขกเกี่ยวข้าว" คนสุพรรณเป็นคนที่มีนิสัยรื่นเริงชอบความสนุกสนาน เมื่อออกแรงทำนาเกี่ยวข้าว ก็จะหาอะไรที่สนุกเล่น แก้เหนื่อย ทำให้เกิดความคึกคัก ในระหว่างทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดเพลงพื้นบ้านขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นกำ เพลงสงฟาง คนสุพรรณเล่นเพลงเหล่านี้มา ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวดสืบต่อกันมา และขยายเป็นแหล่งชุมเพลงใหญ่ของประเทศ การเล่นเพลงพื้นบ้านนั้น ไม่ได้เล่นแค่คนสองคน แต่เล่นกันเป็นหมู่คณะ คนใหนเก่งก็เป็นพ่อเพลง แม่เพลง เก่งน้อยหน่อยว่าเองไม่ได้ ก็เป็นลูกคู่คอยกระทุ้ง บางคนก็คอยเคาะจังหวะ ตีเกราะ เคาะไม้ ตามสนุกพวกที่ร้องเล่นไม่ได้ ก็นั่งฟังหรือกระโดดโลดเต้นไปตามจังหวะด้วยเหตที่คนสุพรรณมีวิถีชีวิตใกล้ชิดอยู่กับเพลงพื้นบ้าน ทำให้เพลงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจิตวิญญาน ของคนสุพรรณเกือบทุกคน ทำให้เกิดศิลปินพื้นบ้าน ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินที่มีชื่อเเสียงมากมายครูมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ปี 2528แม่บัวผัน จันทร์ศรี ศิลปินแห่งชาติ(เพลงพื้นบ้าน) ปี2533ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ ปี 2537แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ (เพลงพื้นบ้านแห่งยุค) ปี 2539ครูไวพจน์ เพชรสุพรรณ ศิลปินแห่งชาติ (ยอดศิลปินเพลงแหล่) ปี 2540

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

เกิดที่บ้านท้ายน้ำตก ริมแม่น้ำด้านใต้ตัวเมืองสุพรรณบุรี ศึกษาเล่าเรียนทางพระปริยัติธรรมจนได้เปรียญ และได้เป็นครูในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ต่อมาได้โดยเสด็จพระเจ้าลูกเธอ 4 พระองค์ ในพรธเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ออกไปทรงศึกษา ณ ต่างประเทศ ท่านได้ใช้เวลาว่างในการศึกษาภาษาอังกฤษ และมีโอกาสตามเสด็จในการไปศึกษาดูงานในที่ต่างๆ จนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นผู้ช่วยเลขานุการฑูตสยาม ณ กรุงลอนดอน และเป็นพระวิจิตรวรสาส์นเลขานุการฑูตไทย ประเทศสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา เมื่อกลับมาประเทศไทยท่านได้รับราชการในกระทรวงมหาดไทย เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชเป็นคนแรก ในตำแหน่งพระยาสุขุมนัยพินิต ได้พัฒนาปรับปรุงระเบียบการปกครองเจ็ดหัวเมืองภาคใต้เป็นอย่างดี จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดี กระทรวงโยธาธิการ และเสนาบดีกระทรวงนครบาล ตามลำดับ ผลงานของท่านที่กลับมารับราชการในส่วนกลางนั้น เป็นที่น่าประหลาดใจในความสามารถของท่านเป็นอย่างยิ่ง จากเด็กวัดชาวสุพรรณบุรี สู่การเป็นครู และฑูตสันถวไมตรี ท่านกลับมีความสามารถในการก่อสร้างอย่างน่าอัศจรรย์ ท่านเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างประปาพระนคร ไฟฟ้านครหลวง ผู้อำนวยการสร้างถนน สะพานทุกแห่ง ร่วมทั้งพระที่นั่งอนันตสมาคมอันสง่างาม จนได้รับการพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยายมราช ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คุณงามความดีและความรับผิดชอบในการปฎิบัติราชการด้วยความซื่อตรง อุตสาหะ ของท่านเจ้าพระยายมราช ทำให้ท่านก้าวเข้าสู่ตำแหน่งสูงสุดในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และอยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงแก่อนิจกรรม ปัจจุบันสถานที่ซึ่งยังเป็นอนุสรณ์อยู่ก็คือ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช และบ้านเรือนไม้หลังเก่าที่สร้างอยู่ในบริเวณบ้านเดิมของท่านด้านข้างโรงพยาบาล

สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณศิริ)

ชาวสุพรรณผู้มีคุณูปการ และสร้างชื่อเสียงเกียรติภูมิให็กับถิ่นฐานบ้านเกิดของท่าน ที่เป็นพระสังฆราชา จนได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์สูงสุด ถึงสมเด็จพระสังฆราช คือสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก องที่ 17 (ปุ่น สุขเจริญ) สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) ประสูติที่ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ทรงศึกษาปริยัติธรรม ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค และยังมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษและภาษาจีนอีกด้วย ท่านเป็นพระภิกษุที่ชอบศึกษาค้นคว้า ชอบฟังปาฐกถา จนมีความรู้กว้างขวาง และมีความสามารถด้านการประพันธ์ ปรากฎผลงานมากมาย เช่น หนี้กรรมหนี้เวร พุทธชยันตี ลิขิตสมเด็จ และยังเป็นองค์เทศนา (ปฎิภาณ) ที่เป็นเยี่ยม ทรงได้รับการสถาปนา เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปริณายก องค์ที่ 17 เจ้าอาวาสวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม และอยู่ในพระสมณศักดิ์นี้จนสิ้นพรธชนม์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2516 อนุสรณ์สถานที่ชาวสุพรรณยังระลึกถึง พระคุณของท่านจวบจนทุกวันนี้คือ การสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ขึ้น ที่บ้านเกิดของท่าน คืออำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี


เมืองโบราณอู่ทอง

ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจระเข้สามพัน ลักษณะเป็นรูปวงรีขนาด 1,850x820 เมตร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ทิตตะวันตกเป็นเทือกเขารางกะปิด เขาคำเทียมและเขาพระ ทิศตะวันออกเป็นที่ราบกักเก็บน้ำ นอกเมืองมีแนวคันดินเป็นถนนโบราณ เรียกว่า ถนนท้าวอู่ทอง และแนวคันดินรูปเกือกม้า เรียกว่า คอกช้างดิน คงจะเป็นเพนียดคล้องช้างโบราณ หรือสระเก็บน้ำในศาสนาพราหมณ์ เมืองโบราณแห่งนี้มีร่องรอยการอยู่อาศัยของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2500-2000 ปีมาแล้ว ได้พบ เครื่องมือหินขัด ภาชนะดินเผา แวปั่นด้ายดินเผา เป็นต้น ต่อมาได้พัฒนาตนเองสู่สังคมเมืองสมัยประวัติศาสตร์ ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ ในราวพุทธศตวรรษที่ 5-9 เช่น เวียดนาม จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และยุโรป มีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางการค้า และเมืองท่าร่วมสมัยกับเมืองออกแก้ว ของประเทศเวียดนาม ได้พบลูกปัดแก้ว และเหรียญกษาปณ์ เหรียญโรมันสมัยจักรพรรดิวิคโตรินุส เป็นต้น ได้รับรูปแบบทางศาสนา ศิลปกรรมแบบอมราวดีจากอินเดีย ได้พบประติมากรรมดินเผารูปพระสงฆ์ 3 องค์อุ้มบาตร และพระพุทธรูปปูนปั้นนาคปรกศิลปะแบบอมราวดี เป็นต้นศาสตราจารย์ชอง บวสเซอริเยร์ เชื่อว่าเมืองอู่ทองน่าจะเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ส่งพระสมณฑูต เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 270-พ.ศ. 311 นายพอล วิทลีย์ เชื่อว่าเมืองจินหลิน ตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทอง เป็นรัฐสุดท้ายที่พระเจ้าฟันมัน แห่งอาณาจักรฟูนันปราบได้ ในพุทธศตวรรษที่ 9 เมื่ออาณาจักรฟูนันล่มสลายลง ในปลายพุทธศตวรรษที่ 11 รัฐทวารวดีได้เจริญขึ้นมาแทนที่ ในรุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และรุ่งเรืองสูงสุดในราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 บันทึกของพระภิกษุเหี้ยนจัง ได้กล่าวถึงอาณาจักรโตโปตี้ หมายถึงทวารวดี ได้พบเหรียญเงินจารึกว่า “ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ” ยืนยันการมีตัวตนของอาณาจักรทวารวดี มีเมืองอู่ทองเป็นเมืองหลวง และศูนย์กลางทางศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และวัฒนธรรมทวารวดี ประชาชนนับถือศาสนาพุทธลัทธิเถรวาทเป็นหลัก ใช้ภาษามอญ ยึดถือคติทางศาสนา รูปแบบศิลปคุปตะจากอินเดีย โบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่พบในเมืองอู่ทอง เป็นศิลปกรรมสมัยทวารวดี เช่น เจดีย์เศียรพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปปางประทานธรรม ธรรมจักร ในขณะเดียวกันศิลปศรีวิชัยซึ่งนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายานได้เผยแพร่เข้ามา ได้พบพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร และพระโพธิสัตว์ปัทมปาณิ เป็นต้น เมืองอู่ทองได้หมดความสำคัญ และร้างไปในราว พุทธศตวรรษที่ 16 จึงรอดพ้นจากอิธิพลเขมรในราวพุทธศตวรรษที่ 16 (สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) โดยปรากฎเมืองโบราณสุพรรณบุรีเจริญขึ้นมาแทนที่
จากเอกสาร สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 2 สุพรรณบุรี


ขุนช้าง-ขุนแผน
เป็นวรรณกรรมอมตะไทยมาช้านาน ตามประวัติกล่าวว่านักขับเสภาครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้แต่ง ( เสภาคือหนังสือกลอนโบราณ ที่นำเอานิทานมาแต่งเป็นกลอนสำหรับขับลำนำ ) แต่เหลือมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์บางตอน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงโปรดให้เหล่ากวีในพระราชสำนักแต่งขึ้นใหม่ รวมทั้งพระองค์ท่านเองทรงพระราชนิพนธ์ ตอน "พลายแก้วเป็นชู้กับนางพิมพ์" ตอน "ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง" และตอน "เข้าห้องแก้วกิริยาและพาวันทองหนี" รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชนิพนธ์ตอน "ขุนช้างตามวันทอง" บรมครูสุนทรภู่แต่งตอน "กำเนิดพลายงาม" ต่อมาครูแจ้งในรัชกาลที่ 4 แต่งตอน "กำเนิดกุมารทอง" ตอน "ขุนแผน พลายงามแก้พระท้ายน้ำ" และตอน "ขุนแผน พลายงามสะกดเจ้าเมืองเชียงใหม่" ที่มาของเรื่อง กล่าวกันว่าเป็นจริงตามนิทานพื้นบ้าน เกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2034 -2072 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ถูกสมมุติพระนามในเสภาว่า "พระพันวษา" เนื้อเรื่องเอาเกร็ดประวัติศาสตร์ตอนไทยทำสงครามกับเชียงใหม่และล้านช้าง แล้วเอามาผูกเข้ากับวิถีชีวิตของชาวเมืองสุพรรณและกาญจนบุรี โดยเฉพาะการชิงรักหักสวาทของ 1 หญิง 2 ชาย คือ นางพิมพิลาลัยหรือนางวันทอง ขุนแผนหรือพลายแก้ว และขุนช้าง อรรถรสทางด้านภาษาและเนื้อหา เป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนยุคสมัยนั้น จนเป็นวรรณกรรมอมตะมาจนถึงทุกวันนี้

เรื่องย่อ
เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องจริง ตามหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวว่า มีกษัตริย์ใน สมัยกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระพันวษา ครั้งหนึ่งเกิดสงครามกับนครเชียงใหม่ เนื่องจากพระเจ้าโพธิสารราชกุมาร เจ้าเมืองเชียงใหม่ ไม่ชอบที่พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตลานช้าง มาเป็นมิตรกับอยุธยา จึงยกทัพมาแย่งชิงพระธิดาแห่งลานช้างไป พระพันวษาทรงพระพิโรธ จึงมีราชโองการสั่งให้เตรียมทัพและตรัสกับพระหมื่นศรีมหาดเล็ก ให้เลือกทหารที่มีฝีมือมารบ ซึ่งในบัดนั้นผู้ที่จะเก่งกล้าเกินกว่าขุนแผนนั้นไม่มี แต่พระหมื่นศรีมหาดเล็กทูลพระพันวษาว่า ขุนแผนยังอยู่ในคุก พระพันวษาก็ทรงระลึกได้ถึงขุนแผน จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ขุนแผนพ้นโทษโดยเร็ว และแต่งตั้งขุนแผนเป็นแม่ทัพออกรบ ก่อนที่ขุนแผนจะออกรบได้แวะที่เมืองพิจิตร เพื่อรับดาบและม้าวิเศษประจำตัวขุนแผน (ดาบฟ้าฟื้นและม้าสีหมอก) ที่ฝากไว้กับพระพิจิตร และขุนแผนก็สามารถตีกองทัพเชียงใหม่จนแตกพ่าย ในคำให้การชาวกรุงเก่า มีเรื่องขุนช้างขุนแผนปรากฏอยู่เท่านี้ เห็นได้ว่าไม่ตรงกับเรื่องขุนช้างขุนแผนที่เราขับเสภากันอยู่ เพราะเรื่องนี้นำมาเล่าเป็นนิทานนานมาแล้วและยังแต่งเป็นกลอนเสภาอีก สันนิษฐานได้ว่าคงมีการตกแต่งเรื่องให้แปลกสนุกสนานและยาวยิ่งขึ้น
ตำนานรัก ขุนช้าง ขุนแผนและนางพิมขุนแผนบุตรชายของขุนไกร พลพ่าย ผู้เก่งกล้าอาศัยอยู่ที่บ้านย่านวัดตระไกร มีเพื่อนในวัยเด็กที่มาเล่นด้วยกันเสมอ คือขุนช้างและนางพิม จนกระทั้งขุนไกรถูกพระพันวษาประหารชีวิต เพราะไม่สามารถสกัดควายป่าไว้ได้ นางทองประศรีผู้มารดาจึงพาขุนแผนไปอยู่เมืองกาญจนบุรี และได้บวชเป็นสามเณรที่วัดส้มใหญ่ เล่าเรียนวิชาจนหมดความรู้ของพระอาจารย์ นางทองประศรีจึงนำมาฝากกับสมภารมีที่วัดป่าเลไลก์ เมืองสุพรรณ ขุนแผนมีความสามารถในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์มัทรีได้ไพเราะจับใจ ในวันออกพรรษาสามเณรพลายแก้วได้ขึ้นเทศน์และเทศน์ได้ไพเราะนัก นางพิมก็เกิดศัทธา เปลื้องผ้าห่มสไบออกแทนเครื่องบูชากัณฑ์ ขุนช้างเห็นก็เปลื้องผ้าห่มของตน วางทับผ้านางพิมพ์ แล้วอธิษฐานให้ได้เจ้าของผ้าห่มสไบ ค่ำวันนั้นหัวใจของพลายแก้วและขุนช้างต่างก็ร้อนรุ่มด้วยความรักที่มีต่อนางพิม ฝ่ายขุนช้างแม้รูปชั่วหัวล้าน แต่ร่ำรวยได้ไปขอนางพิม นางสายทองเห็นดังนั้นจึงนำความไปบอกสามเณรพลายแก้วที่วัดป่า สามเณรยามอยู่ลำพังกับนางสายทองก็อดพูดจาหยอกเอินกับนางไม่ได้ ทราบถึงสมภารมี จึงได้ไล่พรายแก้วออกจากวัด สามเณรจึงไปอาศัยอยู่กับสมภารคงที่วัดแค และได้เล่าเรียนวิชาคาถาอาคม เสกใบมะขามเป็นตัวต่อ สะเดาะโซ่ตรวนกุญแจ ล่องหนหายตัว อยู่ยงคงกระพัน และได้แอบเข้าไปลักลอบได้เสียกับนางพิมพ์ ต่อมาพลายแก้วได้ไปเป็นทหาร และกลับมาพร้อมเมียใหม่ ทำให้นางพิมโกรธและเสียใจ ในขณะที่ขุนช้างก็ยังใช้เล่ห์เพื่อที่จะได้นางพิมมาเป็นเมีย จนในที่สุดนางพิมก็ตกเป็นเมียขุนช้าง ขุนแผนจึงนำเรื่องไปให้พระพันวษาตัดสินความ เมื่อสมเด็จพระพันวษา ตรัสถามว่าจะอยู่กับใคร นางก็ไม่อาจตัดสินใจได้ ขุนแผนนั้นแม้จะรักมาก แต่ก็ทำให้นางทุกข์ยากด้วยรักมานักหนา ขุนช้างนั้นน่าเบื่อระอา แต่ก็รักนางอย่างจริงใจ นางจึงตอบไปว่า แล้วแต่ทรงพระกรุณา สมเด็จพรพพันวษาทรงกริ้ว ให้นำนางวันทองไปประหารชีวิต ชีวิตของนางพิมหรือนางวันทองนั้นไซร้ ในท้ายสุดก็ไม่อาจอยู่ร่ามกับสามีและลูกได้อย่างมีความสุข เฉกเช่นชีวิตครอบครัวชาวบ้านทั่วๆไป

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอศรีประจันต์

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอศรีประจันต์

หมู่บ้านควาย และบ้านทรงไทย
ชมการจำลองวิถีชีวิตของชุมชนชาวบ้านในแถบชนบท ประกอบด้วย กระท่อมหลังคามุงจาก ฝาขัดแตะหลังเล็กสำหรับครอบครัวเริ่มต้น เรือนไทย ยุ้งข้าว เรือนโหราจารย์ ชมการแสดงความสามารถของควายไทยการแข่งขันวิ่งควาย ดูความน่ารักของควายยิ้มย้อนยุคกับการทำอาหารแบบพื้นบ้านชมศูนย์ศึกษาประโยชน์ของสมุนไพรของไทยภายในหมู่บ้านควายยังมีรีสอร์ทให้พักผ่อนท่ามกลางบรรยากาศแบบไทยสมัยโบราณการเดินทาง ตั้งอยู่ริมถนนสายสุพรรณบุรี-ชัยนาท ประมาณ 20 ก.ม. จากตัวจังหวัดสุพรรณบุรี
เวลาเปิด และค่าเข้าชม
จันทร์ - ศุกร์ 10.00 น. - 18.00 น.เสาร์ - อาทิตย์ 10.00 น. - 18.30 น.ค่า
ผ่านประตู :
ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท
โชว์ควาย :
ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท
ข้อมูลเพิ่มเติม
โครงการหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย-สุพรรณบุรี http://www.buffalovillages.com/th/index.php


อุทยานมัจฉา วัดบ้านกร่าง
อยู่บนฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรีคนละฟากกับที่ว่าการอำเภอ มีพระเครื่องเก่าสร้างไว้แต่โบราณ คือ พระขุนแผนบ้านกร่าง ด้านใต้ของวัดมีเจดีย์องค์หนึ่งอายุประมาณ 100 ปี บริเวณหน้าวัดมีปลาจำนวนมากและทางวัดได้จัดอาหารจำหน่ายนำรายได้เพื่อไปเลี้ยงปลาดังกล่าวด้วย ถือเป็นอุทยานมัจฉาแห่งหนึ่งของจังหวัดการเดินทาง ห่างจากจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร


บึงหนองจอก
อยู่ที่ตำบลวังหว้า ห่างจากจังหวัดประมาณ 27 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 78 ไร่ นอกจากเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนแล้ว ยังเป็นแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาด้วย

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอหนองหญ้าไซ

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอหนองหญ้าไซ


ภาพแห่งท้องทุ่งสีเขียวขจีตัดกับขอบฟ้าสีคราม เป็นภาพแห่งท้องทุ่งที่สงบเงียบ บอกเล่าถึงวิถีชีวิตแห่งผู้คน ซึ่งหาดูได้โดยทั่วไป แม้ความเจริญจะแผ่คลุมโดยรอบแต่ สภาพชีวิตของผู้คนที่นี้ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เกษตรกรรมและงานหัตถกรรมพื้นบ้าน บทเพลงแห่งท้องทุ่ง สายลมที่พัดต้นข้าวไหวไปมา กับฝูงควายที่เดินกลับสู่ที่พัก ยามพระอาทิตย์กำลังจะลาลับขอบฟ้า กับเวลาที่เดินไปอย่างช้าๆ เป็นเรื่องราวของชีวิตที่น่าเข้าไปสัมผัส และเรียนรู้

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอสองพี่น้อง


สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอสองพี่น้อง


วัดไผ่โรงวัว ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางตาเถร ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 43 กิโลเมตร หรือจากกรุงเทพฯ ประมาณ 70 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี มีทางแยกซ้ายก่อนถึงสามแยกลาดบัวหลวงเข้าสู่วัดไผ่โรงวัว วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 เป็นวัดที่มีพุทธ-ศาสนิกชน และบุคคลทั่วไป นิยมไปเที่ยวชมกันมาก หลวงพ่อขอม ได้ดำเนินการก่อสร้าง “พระพุทธโคดม” เป็นพระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 17 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยก พระเกตุมาลา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2512 ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับพุทธศาสนา ได้แก่ “สังเวชนียสถาน 4 ตำบล” คือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน กับงานประติมากรรมหรือภาพปั้นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัตินรกภูมิ รวมทั้งวรรณคดีและประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมี “พระธรรมจักร” หล่อด้วยทองสำริดใหญ่ที่สุดในโลก “พระกะกุสันโธ” พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก “ฆ้องและบาตร” ใหญ่ที่สุดในโลก “พระวิหารร้อยยอด” รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกมากมาย






หนองอ้อนกกะโท อยู่ที่ตำบลศรีสำราญ อำเภอสองพี่น้อง เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ อยู่ในที่ดินสาธารณะ เนื้อที่ 200 ไร่ มีเกาะเป็นรูปแผนที่ประเทศไทยกลางหนองน้ำมีศาลาเอนกประสงค์ บนเกาะใช้เป็นสถาน ที่ประชุม และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในวัดหยุดและตอนเย็นของทุกวันครับ

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอสามชุก

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอสามชุก


อำเภอสามชุก มีประวัติจารึกว่าเคยเป็นดินแดนที่มีความยิ่งใหญ่ในอดีต ในฐานะที่เป็นเสมือนเมืองท่าที่สำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนได้เคยเป็นแหล่งอารยะธรรมเก่าแก่มาแต่โบราณ จากการขุดพบเทวรูปยืนเนื้อหินสีเขียวขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ใน พ.ศ. 2522 ที่บ้านเนินพระ ต.บ้านสระ อ.สามชุก ทำให้นักโบราณคดีเริ่มขุดค้น และเชื่อว่า ณ ที่นี้เป็นที่ตั้งของ โบราณสถานสมัยขอมแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญมาก โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ในอาณาจักรทวารวดีระหว่าง พ.ศ.ที่ 16-18 จากการขุดพบ ได้พบลายปูนปั้นเป็นจำนวนมาก เช่น เศียรเทวดา พระพิมพ์เนื้อชิน นางอัปสร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ลายเทพพนม เศียรอสูรขนาดใหญ่ รูปสัตว์ที่ประดับศาสนสถาน ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทองในอดีตบ้านสามชุกได้ชื่อว่าเป็นท่าเรือทางการค้าที่สำคัญ และเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ผู้ที่เดินทางจากตัวเมืองไปอำเภออื่นๆที่เลยออกไปจำเป็นต้องหยุดพักที่สามชุก เพราะได้เวลาค่ำพอดี นอกจากนั้นยังเป็นที่ที่พวกกระเหรี่ยงนำของจากป่า บรรทุกเกวียนมาขายให้พ่อค้าทางเรือ และซื้อของจำเป็นกลับไป ในสมัยหนึ่งบ้านสามชุกขึ้นกับอำเภอเดิมบางนางบวช เมื่อปี พ.ศ. 2437ต่อมาปี พ.ศ. 2454 จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งบริเวณหมู่บ้านสำเพ็งและเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอสามชุกเมื่อปี พ.ศ. 2457มีเนื้อที่ 362 ตารางกิโลเมตร มี 7 ตำบล 68 หมู่บ้าน




ตลาด ๑๐๐ ปี..อำเภอสามชุก

ตลาดสามชุกเป็นแหล่งค้าขายสินค้าทางน้ำที่สำคัญในสมัยโบราณ ตัวอำเภอยังเป็นตลาดเก่าที่สร้างด้วยไม้เรียงติดกัน อยู่ริมฝังตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน วิถีีชีวิตของผู้คนในชุมชน, สถาปัตยกรรมโบราณเชิงชายไม้แกะสลัก อาคารพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์ จีนารักษ์ร้านขายยาจีน-ไทยโบราณ ร้านกาแฟโบราณ และร้านถ่ายรูปโบราณยังคงมีสภาพและรูปแบบเดิมเหมาะแก่การอนุรักษ์และรักษาให้เป็นบันทึกของชีวิตริมแม่น้ำท่าจีน อีกแห่งหนึ่ง และยังเป็นแหล่งรวมสินค้าโดยเฉพาะขนมไทยโบราณ กาแฟสด และอาหารสด จำพวกปลาแม่น้ำและพืชพักจากชาวบ้าน ระยะทางจากตัวจังหวัดถึงอำเภอสามชุกประมาณ 35 กิโลเมตร ห่างจากถนนสุพรรณ-ชัยนาท ประมาณ 200 เมตร





พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์จีนารักษ์
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๗ ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์ ได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งสัมพันธ์กับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองสามชุก ตลาดสามชุก สังคม และสภาพวิถีชีวิตของผู้คนสามชุก มีการแสดงประวัติเจ้าของอาคารพิพิธภัณฑ์ คือ ท่านขุนจำนงจีนารักษ์ และกล่าวถึงโครงการสามชุกเมืองน่าอยู่ มีการจัดแสดงผลงานศิลปะผ่านภาพวาดและลายเส้นเกี่ยวกับสามชุกของนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาคารพิพิธภัณฑ์หลังนี้เดิมเป็นบ้านของขุนจำนงจีนารักษ์ ตั้งอยู่ในตลาดสามชุก ซอย ๒ ลักษณะเป็นอาคารไม้สามชั้น สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. ๒๔๕๙ อายุกว่า ๙๐ ปี มาแล้ว นางเคี่ยวยี่ จีนารักษ์ ทายาทคนปัจจุบันได้อนุญาตให้คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกปรับปรุงบ้านจัดทำพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ของท้องถิ่นและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน






ของอร่อยที่ตลาด ๑๐๐ ปี
บะหมี่สด เกี๊ยวสด "เจ๊กอ้าว"กาแฟโบราณ "เจ๊หมวยเล็ก"ปัจจุบันมีร้านอาหาร ขนมอร่อยๆ ของฝากที่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมได้เลือกซื้อกันมากมายโดยเฉพาะวันหยุดเสาร์อาทิตย์






บึงระหาร

อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 34 กิโลเมตร เป็นบึงขนาดใหญ่มีเนื้อที่ 252 ไร่ มีถนนวนรอบบึง มีร้านอาหารและศาลาสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย การแข่งขันกีฬาทางน้ำ หรือจอดรถพักรับประทานอาหาร ด้วยอยู่ใกล้ถนนใหญ่ จากตัวจังหวัดสุพรรณถึงสี่แยกไฟแดงอำเภอสามชุก แล้วเลี้ยวขวาเพียง 100 เมตร




วัดลาดสิงห์
ตั้งอยู่ตำบลบ้านสระ ห่างจากอนุสรณ์ดอนเจดีย์ 7 ก.ม. ภายหลังสมเด็จพระนเรศวรมีชัยชนะ ในสงครามยุทธหัตถี และทราบข่าวพระพี่นาง พระสุพรรณกัลยาที่ทรงเป็น องค์ประกันอยู่ที่พม่า ถูกประหารชีวิตด้วยพระแสงของ พระเจ้านันทบุเรง เป็นการล้างแค้นที่พระมหาอุปราชา สิ้นพระชนม์ ด้วยพระแสงของ้าวของพระองค์ ดังนั้นจึงทรงสร้างวัดนี้ เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้แก่พระสุพรรณกัลยา มีโบราณสถานเก่าแก่ อุโบสถซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา กำแพงแก้ว และสระน้ำขนาดใหญ่

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบางปลาม้า

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบางปลาม้า



อำเภอบางปลาม้า ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรี มาทางทิศใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่481,298 ตารางกิโลเมตร ( 300,811.3 ไร่) ประกอบด้วย 14 ตำบล 125 หมู่บ้าน ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นแอ่งที่ราบลุ่ม จะมีน้ำท่วมขัง ในฤดูน้ำหลาก ที่ตั้งตัวอำเภอปัจจุบันตั้งอยู่ทางฝั่งซ้าย ของแม่น้ำท่าจีน
หมู่บ้านไทย วัดโบสถ์ อำเภอบางปลาม้า ห่างจากจังหวัด 25 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ยังคงรูปแบบวิถีทางดำเนิน ชีวิตแบบไทย และขนบธรรมเนียมดั้งเดิม บ้านทรงเรือนไทย การแต่งกายตามแบบของชนกลุ่มน้อยและประเพณียังคงมีให้เห็น เป็นจุดหนึ่งของการท่องเที่ยวแบบวัฒนธรรมประเพณี
ชุมชนบ้านโพธิ์ศรีี เป็นชุมชนที่มีเชื่อสายชาวไทยพวน มีฝีมือในการทำเครื่องจักสานไม้ไผ่และหวาย ฝีมือประณีต
อุทยานมัจฉาวัดป่าพฤกษ์ เป็นอุทยานมัจฉาอีกแห่งหนึ่งของจังหวัด บริเวณหน้าวัดมีฝูงปลาโดยเฉพาะปลาสวาย ปลานิล เป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวสามารถยืนชมและให้อาหารปลาได้อย่างใกล้ชิด บริเวณริมแม่น้ำทางวัดก่อสร้างเป็นเขื่อนทางเท้า ริมน้ำยาวประมาณ 100 เมตรการเดินทาง อยู่ก่อนถึงตัวเมืองประมาณ 17 ก.ม.
วัดบางเลน อยู่ที่อำเภอบางปลาม้า ภายในบริเวณวัดมีค้างคาวแม่ไก่ เป็นจำนวนมากอาศัยเกาะอยู่ตามต้นไม้การเดินทาง ห่างจากจังหวัดประมาณ 24 กิโลเมตร

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเดิมบางนางบวช



สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเดิมบางนางบวช



บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ (บึงบัวแดง) อยู่ติดต่อเขตอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เป็นบึงขนาดใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 2,700 กว่าไร่ อยู่ในเขตอำเภอ เดิมบางนางบวช
พ.ศ. 2525 เริ่มแผนพัฒนาบึงฉวาก และประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า
พ.ศ. 2537 จังหวัดสุพรรณบุรี โดย ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ร่วมกับหน่วนงานต่างๆ จัดทำโครงการพัฒนาบึงฉวากเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2539 เริ่มดำเนินการก่อสร้างสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ และบ่อจระเข้
พ.ศ. 2541 บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ ถูกจัดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ ตามอนุสัญญาแรมซาร์ (ลักษณะที่เป็นที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมถาวร และชั่วคราวทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำใหว แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร )
พ.ศ. 2542 เริ่มดำเนินการก่อสร้าง อุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพบริเวณเกาะกลางน้ำเนื้อที่ 26 ไร่ เพื่อรวบรวมพันธุ์ผักพื้นบ้านกว่า 500 ชนิดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกร สร้างจิตสำนึกให้รู้ถึงคุณค่าของผักพื้นบ้าน
พ.ศ. 2543 วันที่ 4 กันยายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดแพรคลุมป้ายโครงการพัฒนาบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ
พ.ศ. 2544 ก่อสร้างอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 ประกอบด้วยตู้ปลาขนาดใหญ่บรรจุน้ำได้ 400 ลูกบาศก์เมตร ตู้ปลาขนาด 1 ตัน จำนวน 30 ตู้จัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดได้ 60 ชนิด นอกจากนี้ยังมีปลาทะเลสวยงามอีก 7 ตู้

พ.ศ. 2546 วันที่ 23 พฤษภาคม เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเป็นวันแรก มีประชาชนเข้าชมจำนวนมากเป็นปรากฏการณ์ ของการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี






สถานที่ท่องเที่ยวภายในบึงฉวาก


1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่า
2. กรงเสือและกรงสิงห์โต แหล่งรวบรวมสัตว์ป่าที่หาดูได้ยาก

3.สถานที่ถ่ายภาพร่วมกับสัตว์ เด็กจะได้สนุกสนานกับการถ่ายภาพบนหลังม้าหรือถ่ายภาพคู่กับลิงอุรังอุตัง เก็บไว้เป็นที่ระลึก
4.ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าและกรงนกใหญ่ เดินชมภายในกรงนกใหญ่ที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายสภาพธรรมชาติ ชมพันธ์นกหายากกว่า 30 ชนิด เช่น นกยูง นกกาบบัว เป็ดแดง
5. เกาะกระต่าย
6.ศูนย์รวมพันธุ์ไก่และกรงสัตว์หายาก เป็นสถานที่รวบรวมพันธุ์ไก่ชนิดต่างๆทั้งสวยงาม และหายาก เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าสีทอง ไก่ฟ้าพญาลอ และสัตว์หายากอีกหลายชนิด
7.อุทยานผักพื้นบ้านเฉลิมพระเกียรติ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่รวบรวมผักพื้นบ้านกว่า 500 ชนิดชมน้ำเต้าเหลี่ยมรูปทรงแปลกตาและโรงเรือนปลูกพืชระบบระเหย
น้ำที่ทันสมัย
8. เรือจักรยานน้ำ สำหรับครอบครัวได้ออกกำลังกายกับธรรมชาติที่สวยงามภายในบึงน้ำ
9.สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวาก (อุโมงค์ปลา) เป็นแหล่งรวบรวมปลาสวยงามและพันธ์ปลาหายาก ตื่นตากับอาควาเรี่ยมน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สัมผัสโลกใต้น้ำผ่านอุโมงค์ปลาขนาดใหญ่ สถานแสดงพันธุ์ฯ เปิดเวลา 9.00 น. มีการแสดงการให้อาหารปลา
10.บ่อจระเข้น้ำจืด เป็นบ่อจระเข้ขนาดใหญ่ ที่มีสภาพใกล้เคียงธรรมชาติสวยงามเป็นจุดที่น่าสนใจอีกแห่งหนึงของบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ





ระยะทางจากกรุงเทพ-บึงฉวาก ประมาณ 160 ก.ม
.เส้นทางเข้าบึงฉวากสะดวกที่สุดพอถึงสามแยกไฟแดงเข้าตลาดท่าช้าง ให้ตรงไปทางจ.ชัยนาทอีก ประมาณ 8 ก.ม.จะมีป้ายซ้ายมือไปบึงฉวากอีกประมาณ 4 ก.ม.แผนที่แสดงเส้นทาง กรุงเทพฯ - บึงฉวาก สอบถามรายละเอียด035-439208-9, 035-439210, 035439206
ของกินของฝากที่ไม่ควรพลาดเฉาก๊วยชากังราว หน้าอาคารแสดงพันธ์สัตว์น้ำ


วัดเขานางบวชหรือวัดเขาขึ้น(วัดพระอาจารย์ธรรมโชติ)


วัดเขานางบวชหรือวัดเขาขึ้น(วัดพระอาจารย์ธรรมโชติ) บริเวณวัดตั้งอยู่บนเขานางบวชมีทั้งทางราดยาง และบันได 249 ขั้น ขึ้นไปจนถึงยอดเขา เป็นวัดของพระอาจารย์ ธรรมโชติ ผู้ทรงคุณวุฒเครื่องรางของขลังสมัยศึกบางระจัน ชาวบ้านบางระจันได้นิมนต์ไปเป็นกำลังใจการสู้รบ กับพม่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่ในวิหาร พระอาจารย์ธรรมโชติ ด้านหลังเป็นเจดีย์แผ่นหิน รูปปั้นอาจารย์ธรรมโชติ เมื่อยืนอยู่บนเขาสามารถชมทิวทัศน์อันสวยงาม ของอำเภอเดิมบางนางบวชได้อย่างทั่วถึง

วัดเดิมบาง ภายในวัดมีมณฑป ศาลา หอระฆัง ที่ก่อสร้างได้วิจิตรประณีตมาก และธรรมมาสน์ที่สร้างโดยช่างชาวจีนและเป็นศิลปะไทยปนจีน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2458 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2466 นอกจากนั้นยังมีหอสวดมนต์ที่เก็บของมีค่าของวัด 3 ชิ้น ได้แก่ ฝาบาตรมุก ตาลปัตร ปิ่นโต ซึ่งรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานแก่วัด ทางวัดได้เก็บรวบรวมไว้และยังอยู่ในสภาพดี

วัดหัวเขา วัดนี้มีประเพณีตักบาตรเทโว ซึ่งเป็นพิธีทำบุญของชาวไทยในเทศกาลออกพรรษา เริ่มงานหลังจากวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 2 ค่ำ เดือน 11 ทุก ๆ ปีมีคนมาร่วมทำบุญ เป็นจำนวนมากเนื่องจากมีสถานที่อำนวยความสะดวกและสวยงาม มาก มีบันไดขึ้นลงเขาทำด้วยคอนกรีต จำนวนรวม 212 ขั้น

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอดอนเจดีย์

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอดอนเจดีย์



พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ประกอบด้วยพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระคชาธารออกศึกและองค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถี ที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2134 และในปี พ.ศ. 2495 กองทัพบกได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร ครอบเจดีย์องค์เดิม

ภายในองค์เจดีย์ได้มีการสร้างห้องแสดง ประวัติศาสตร์ทั้งภาพแสงสีเสียงและหุ่นจำลองการยกทัพของพม่าและไทย หลายร้อยตัว เป็นสถานที่ได้ทั้งความรู้และเพลิดเพลิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ได้เสด็จทรงประกอบพิธีบวงสรวง และเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2502 ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ และถือเป็นวันกองทัพไทยด้วย พร้อมกันนั้นทางจังหวัดได้จัดให้มีงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์เฉลิมฉลองด้วย

การแสดงแสง-สี-เสียง ในงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ จะมีการแสดงทุกปีในช่วงวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี ประกอบด้วยการแสดงของเหล่านักแสดงนับพันคน และการชนช้างการฟ้อนรำที่งดงาม และเรื่องราวของประวัติศาสตร์สมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ให้ทั้งความรู้ ความสนุกสนานและเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภออู่ทอง

สถานที่ท่องเที่ยวเมืองอู่ทอง


เมืองอู่ทองปัจจุบันอยู่ที่อำเภออู่ทองเป็นเมืองเก่าที่มีชื่อปรากฏในพงศาวดาร
กรุงศรีอยุธยาว่าพระเจ้าอู่ทองทรงอพยพผู้คนหนีโรคห่าจากเมืองอู่ทองเมื่อปี
พ.ศ.1890 ไปสร้างเมืองหลวงใหม่คือ กรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้มีการขุดค้นหา
หลักฐานที่เมืองอู่ทองแล้วลงความเห็นว่าเมืองนี้เป็นเมืองเก่าก่อนกรุงศรีอยุธยา
และร้างไปนานนับร้อยปีก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างกรุงศรีอยุธยาจึงเชื่อกันว่า
พระเจ้าอู่ทองน่าจะไม่ได้หนีโรคห่าดังที่กล่าวไว้


พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทอง


ติดกับที่ว่าการอำเภออู่ทอง เป็นสถานที่รวบรวมศิลปะวัตถุในสมัยต่าง ๆ ที่ขุดค้นพบแสดงถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ยุคสมัยต่าง ๆ ที่เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแถบสุพรรณบุรี มีหลักฐานการขุดพบลูกปัดซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่พบที่เมืองออกแก้ว ประเทศเวียตนาม โดยนาย หลุยส์ มาเลอเรท์ (Louis Mallaret) พิสูจน์ว่าเป็นลูกปัดสมัยฟูนัน มีอายุประมาณ 1800 ปี เครื่องมือเครื่องใช้สมัยหินใหม่ถึงสมัยสัมฤทธิ์ พระพุทธรูป สมัยทวารวดี ฯลฯ พิพิธภัณฑ์เปิดบริการให้ประชาชนเข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น



บ้านลาวโซ่ง

ปัจจุบันได้ผสมกลมกลืนไปกับชาวพื้นเมืองแล้ว แต่ยังคงไว้ถึงประเพณี ความเชื่อ การทำมาหากิน การแต่งกายโดยภายในบริเวณพิพิธภัณสถานแห่งชาติอู่ทอง ได้จัดสร้างบ้านลาวโซ่งขึ้น แสดงเครื่องมือ เครื่องใช้ประจำวันอยู่ครบครัน





รอยพระพุทธบาทวัดเขาดีสลัก


เป็นรอยพระพุทธบาทจำลองสร้างด้วยหินสีเขียว มีลักษณะแตกต่างจากรอยพระพุทธบาทที่พบตามที่อื่นๆ คือ เป็น รอยพระพุทธบาทนูน ขนาดกว้างประมาณ 65.5 ซม. ยาว 141.5 ซม. นักโบราณคดีให้ความเห็นว่าเป็นศิลปะสมัยทวาราวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-16 นอกจากนี้ยังพบ โพรงหินภายในมีพระพุทธรูปและโบราณวัตถุต่าง ๆ อีกหลายชนิด
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ และสร้างมณฑปทรงไทยสวยงามครอบไว้ มีการดูแลโดยรอบบริเวณอย่างดี มีถนนราดยางขึ้นสู่มณฑปบนยอดเขา มองเห็นทุ่งโล่งกว้าง และทิวเขาสลับสับซ้อนของอำเภออู่ทอง และสร้างระฆัง 72 ใบ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบรอบ 72 พรรษา ผู้สนใจประวัติศาสตร์และโบราณคดีน่าไปศึกษาอย่างยิ่ง

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอด่านช้าง

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอด่านช้าง


อำเภอด่านช้างนั้น ในอดีตเดิมอยู่ที่บ้านหนองปลาดุก อำเภอเดิมบางนางบวช
โดยมีตำนานเล่าว่ามีโขลงช้างมากินน้ำ และเล่นน้ำ ที่ลำห้วยกระเสียว เรียกว่า
"บ้านด่านช้าง" ต่อมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอด่านช้าง แยกออกมาจากอำเภอเดิมบาง
นางบวช เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2517



อุทยานแห่งชาติพุเตย


เป็นป่าสนสองใบบนยอดเขาพุเตย ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร ป่าสนสองใบหลายพันต้นนี้มีอายุกว่า 200-300 ปี บนป่าสนกางเต็นท์พักแรมได้ แต่ไม่มีแหล่งน้ำ และที่นี่ยังเป็นจุดชมวิวทะเลหมอกในหน้าหนาวและช่วงที่มีฝนตกและจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามนอกจากนี้บริเวณเขาตู่ตี่ ยังมี ถ้ำย้อยระย้า อันสวยงามด้วยหินงอกหินย้อย เมื่อต้องกับแสงไฟ



หมู่บ้านกระเหรี่ยงตะเพินคี่


เป็นป่าที่สวยงาม และเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านกะเหรี่ยง ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยมากว่า 200 ปี ผืนป่า และต้นน้ำตะเพินคี่ ยังคงสภาพสมบูรณ์เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยล่องไพร เป็นดินแดนแห่งความหนาวเย็น ในหน้าหนาวอุณหภูมิจะลดลง 5-6 ํC และยังเป็นดินแดนรอยต่อของสามจังหวัด สุพรรณบุรี-อุทัยธานี-กาญจนบุรี




น้ำตกตะเพินคี่น้อย

เป็นน้ำตกขนาดเล็กอยู่ใกล้กับหมู่บ้านตะเพินคี่ มีน้ำไหลตลอดปี เป็นความงดงามทางธรรมชาติที่คนภายนอกไม่ค่อยได้มีโอกาสไปสัมผัสเหมาะสำหรับผู้ที่รักการเดินทางแบบผจญภัยเล็กๆการเดินทาง หน้าฝนควรเป็นรถขับเคลื่น 4 ล้อส่วนหน้าแล้งรถยนต์นั่งธรรมดาก็สามารถไปได้





น้ำตกตะเพินคี่ใหญ่


เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีสองชั้น ความสูงประมาณชั้นละ 5-6 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี เพราะเป็นต้นน้ำและบ่อน้ำผุด ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ รายละเอียดการเดินทางดูได้ที่









เขื่อนกระเสียว


เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำสร้างกั้นลำห้วยกระเสียว ยาว 4,250 เมตร สูง 32.5 เมตร พื้นที่กักเก็บน้ำ 28,750 ไร่ ปริมาณ น้ำที่สามารถกักเก็บน้ำได้สูงสุด 240 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเขื่อนดินที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และเป็นแหล่ง เพราะพันธุ์ปลาขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทิวทัศน์สวยงามครับ กลางวันอากาศค่อนข้างร้อน ช่วงเย็นอากาศดีมาก โดยเฉพาะจุดตั้งแคมป์ริมเขื่อนเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม การเดินทางไปจุดตั้งแคมป์ จากสี่แยกไฟแดงอำเภอด่านช้างก่อนถึงทางเข้าตัวเขื่อน จะมีถนนลูกรังขวามือ มีป้าย "แพกระเสียว" วิ่งไปตามทางลูกรังอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีแยกซ้ายมือทางไปริมเขื่อนประมาณ 200 เมตร จะถึงจุดกางเต็นท์ ริมเขื่อนจุดกางเต็นท์ที่น่าสนใจอีกแห่งจะอยู่ทางตะวันตกของตัวเขื่อนชื่อ "แพชาวเขื่อน" สภาพยังเป็นธรรมชาติเหมาะกับนักเดินทางที่ไม่เน้นความสะดวกสบายมากนักใช้เส้นทางไป อ.หนองปรือ ทางเข้าอยู่ขวามือเป็นทางลาดยาง จะมีช่วงลูกรังเล็กน้อยก่อนถึงจุดกางเต็นท์

อ่างเก็บน้ำลำตะเพิน


เป็นอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าองค์พระเขาพุระกำและเขาห้วยพลู บริเวณกว้าง 5000 ไร่ ในตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้างและอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี มีธรรมชาติโดยรอบสวยงาม เหมาะแก่การตั้งค่ายพักแรม มีถนนราดยางถึงตัวอ่างเก็บน้ำ เป็นเส้นทางที่จะไปน้ำตกพุกระทิงและอุทยานแห่งชาติพุเตย