วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอสามชุก

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอสามชุก


อำเภอสามชุก มีประวัติจารึกว่าเคยเป็นดินแดนที่มีความยิ่งใหญ่ในอดีต ในฐานะที่เป็นเสมือนเมืองท่าที่สำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีนได้เคยเป็นแหล่งอารยะธรรมเก่าแก่มาแต่โบราณ จากการขุดพบเทวรูปยืนเนื้อหินสีเขียวขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ใน พ.ศ. 2522 ที่บ้านเนินพระ ต.บ้านสระ อ.สามชุก ทำให้นักโบราณคดีเริ่มขุดค้น และเชื่อว่า ณ ที่นี้เป็นที่ตั้งของ โบราณสถานสมัยขอมแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญมาก โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ในอาณาจักรทวารวดีระหว่าง พ.ศ.ที่ 16-18 จากการขุดพบ ได้พบลายปูนปั้นเป็นจำนวนมาก เช่น เศียรเทวดา พระพิมพ์เนื้อชิน นางอัปสร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ลายเทพพนม เศียรอสูรขนาดใหญ่ รูปสัตว์ที่ประดับศาสนสถาน ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทองในอดีตบ้านสามชุกได้ชื่อว่าเป็นท่าเรือทางการค้าที่สำคัญ และเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ผู้ที่เดินทางจากตัวเมืองไปอำเภออื่นๆที่เลยออกไปจำเป็นต้องหยุดพักที่สามชุก เพราะได้เวลาค่ำพอดี นอกจากนั้นยังเป็นที่ที่พวกกระเหรี่ยงนำของจากป่า บรรทุกเกวียนมาขายให้พ่อค้าทางเรือ และซื้อของจำเป็นกลับไป ในสมัยหนึ่งบ้านสามชุกขึ้นกับอำเภอเดิมบางนางบวช เมื่อปี พ.ศ. 2437ต่อมาปี พ.ศ. 2454 จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งบริเวณหมู่บ้านสำเพ็งและเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอสามชุกเมื่อปี พ.ศ. 2457มีเนื้อที่ 362 ตารางกิโลเมตร มี 7 ตำบล 68 หมู่บ้าน




ตลาด ๑๐๐ ปี..อำเภอสามชุก

ตลาดสามชุกเป็นแหล่งค้าขายสินค้าทางน้ำที่สำคัญในสมัยโบราณ ตัวอำเภอยังเป็นตลาดเก่าที่สร้างด้วยไม้เรียงติดกัน อยู่ริมฝังตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน วิถีีชีวิตของผู้คนในชุมชน, สถาปัตยกรรมโบราณเชิงชายไม้แกะสลัก อาคารพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์ จีนารักษ์ร้านขายยาจีน-ไทยโบราณ ร้านกาแฟโบราณ และร้านถ่ายรูปโบราณยังคงมีสภาพและรูปแบบเดิมเหมาะแก่การอนุรักษ์และรักษาให้เป็นบันทึกของชีวิตริมแม่น้ำท่าจีน อีกแห่งหนึ่ง และยังเป็นแหล่งรวมสินค้าโดยเฉพาะขนมไทยโบราณ กาแฟสด และอาหารสด จำพวกปลาแม่น้ำและพืชพักจากชาวบ้าน ระยะทางจากตัวจังหวัดถึงอำเภอสามชุกประมาณ 35 กิโลเมตร ห่างจากถนนสุพรรณ-ชัยนาท ประมาณ 200 เมตร





พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์จีนารักษ์
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๗ ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์ ได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งสัมพันธ์กับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองสามชุก ตลาดสามชุก สังคม และสภาพวิถีชีวิตของผู้คนสามชุก มีการแสดงประวัติเจ้าของอาคารพิพิธภัณฑ์ คือ ท่านขุนจำนงจีนารักษ์ และกล่าวถึงโครงการสามชุกเมืองน่าอยู่ มีการจัดแสดงผลงานศิลปะผ่านภาพวาดและลายเส้นเกี่ยวกับสามชุกของนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาคารพิพิธภัณฑ์หลังนี้เดิมเป็นบ้านของขุนจำนงจีนารักษ์ ตั้งอยู่ในตลาดสามชุก ซอย ๒ ลักษณะเป็นอาคารไม้สามชั้น สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. ๒๔๕๙ อายุกว่า ๙๐ ปี มาแล้ว นางเคี่ยวยี่ จีนารักษ์ ทายาทคนปัจจุบันได้อนุญาตให้คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกปรับปรุงบ้านจัดทำพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ของท้องถิ่นและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน






ของอร่อยที่ตลาด ๑๐๐ ปี
บะหมี่สด เกี๊ยวสด "เจ๊กอ้าว"กาแฟโบราณ "เจ๊หมวยเล็ก"ปัจจุบันมีร้านอาหาร ขนมอร่อยๆ ของฝากที่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมได้เลือกซื้อกันมากมายโดยเฉพาะวันหยุดเสาร์อาทิตย์






บึงระหาร

อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 34 กิโลเมตร เป็นบึงขนาดใหญ่มีเนื้อที่ 252 ไร่ มีถนนวนรอบบึง มีร้านอาหารและศาลาสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย การแข่งขันกีฬาทางน้ำ หรือจอดรถพักรับประทานอาหาร ด้วยอยู่ใกล้ถนนใหญ่ จากตัวจังหวัดสุพรรณถึงสี่แยกไฟแดงอำเภอสามชุก แล้วเลี้ยวขวาเพียง 100 เมตร




วัดลาดสิงห์
ตั้งอยู่ตำบลบ้านสระ ห่างจากอนุสรณ์ดอนเจดีย์ 7 ก.ม. ภายหลังสมเด็จพระนเรศวรมีชัยชนะ ในสงครามยุทธหัตถี และทราบข่าวพระพี่นาง พระสุพรรณกัลยาที่ทรงเป็น องค์ประกันอยู่ที่พม่า ถูกประหารชีวิตด้วยพระแสงของ พระเจ้านันทบุเรง เป็นการล้างแค้นที่พระมหาอุปราชา สิ้นพระชนม์ ด้วยพระแสงของ้าวของพระองค์ ดังนั้นจึงทรงสร้างวัดนี้ เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้แก่พระสุพรรณกัลยา มีโบราณสถานเก่าแก่ อุโบสถซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา กำแพงแก้ว และสระน้ำขนาดใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น: